การพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา"กรป.กลางอุปถัมภ์"(นายสมสนิท หาศิ นำเข้าเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2552 โดย นายสมสนิท หาศิริ อ่าน [50365]
 | ชื่อเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านนาคู
พัฒนากรป.กลางอุปถัมภ์ อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้รายงาน นายสมสนิท หาศิริ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานศึกษาที่สังกัด โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนากรป.กลางอุปถัมภ์ อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่จัดพิมพ์ พ.ศ. 2552
บทคัดย่อ
การประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนากรป.กลางอุปถัมภ์ อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ
D. L. Stufflebeam มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทการดำเนินงานโครงการโรงเรียน
วิถีพุทธของคณะครู 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของ
คณะครู 3) ประเมินด้านกระบวนการการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของครูและนักเรียน
4) ประเมินด้านผลผลิตการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของนักเรียน 5) ประเมินความ
พึงพอใจ ที่มีต่อดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะครู 55 คน นักเรียน 280 คน คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน 14 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่
แบบประเมิน 3 ฉบับ และแบบสอบถาม 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
1. ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของคณะครู จากแบบประเมินโดยภาพรวมมีเหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน รองลงมา คือ โครงการสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โครงการมีแนวทางการดำเนินการอย่างชัดเจน
2. ด้านปัจจัย ตามความคิดเห็นของคณะครู จากแบบประเมินโดยภาพรวมมีเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากร รองลงมา คือ
แหล่งเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สภาพแวดล้อม
3. ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู จากแบบประเมินโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บรรยากาศ และ
ปฎิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร รองลงมา คือ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การวัดและประเมินผล ส่วนความคิดเห็นของนักเรียน จากแบบประเมินโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน รองลงมา คือ ครูนิมนต์พระสงค์และเชิญวิทยากร ภูมิปัญญาทางศาสนาสอนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอและข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล
4. ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของนักเรียน จากแบบประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ พัฒนากาย รองลงมา คือ พัฒนาศีล
และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ พัฒนาจิต
5. ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง จากแบบสอบถามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะครู และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมประเพณี และวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ รองลงมา คือ คณะครู พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นที่รักใคร่ของนักเรียนและชุมชนและข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
จากผลการประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ มีประโยชน์ต่อ ผู้บริหาร
ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เห็นควรที่จะต้องมีการส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง
.....
|