รายงานโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องสมการความหนากับค่าเงินเหรียญ
นำเข้าเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2562 โดย นางสาวเยาวเรศ เสนากิจ
อ่าน [58561]  

......

                                                                                     บทคัดย่อ
ในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องสมการความหนากับค่าของเงินเหรียญ มีวัตถุประสงค์
เพื่อ (1)  ศึกษาหาค่าเฉลี่ยความหนาของเงินเหรียญแต่ละชนิด และ (2) ศึกษาหาความสัมพันธ์ของความหนาและค่าของเงินเหรียญ  ผลการศึกษาพบว่า
1.ศึกษาหาค่าเฉลี่ยความหนาของเงินเหรียญแต่ละชนิด
1.1 การศึกษาการหาค่าเฉลี่ยความหนาของเงินเหรียญ 1 บาท จากการสุ่มวัดความ
หนาของเหรียญ 1 บาท ครั้งละ 10 เหรียญ 20 เหรียญ และ 30 เหรียญ  จะมีความหนาอยู่ในช่วง 1.06 ถึง 1.62 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยในการสุ่มวัดเงินเหรียญทั้ง 3 แบบ คือ  1.32 ,  1.36 , 1.50  มิลลิเมตร ตามลำดับ  จะได้ว่าค่าเฉลี่ยแทนความหนาของเหรียญ 1 บาท จำนวน  1 เหรียญ มีค่าประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 1.39  มิลลิเมตร 
1.2 สรุปผลการศึกษาการหาค่าเฉลี่ยความหนาของเหรียญ 2 บาท จากการสุ่มวัดความหนา
ของเหรียญ 2 บาท ครั้งละ 10 เหรียญ 20 เหรียญ และ 30 เหรียญ  จะมีความหนาอยู่ในช่วง 1.42 ถึง 1.74  มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยในการสุ่มวัดเงินเหรียญทั้ง 3 แบบ คือ  1.57 ,  1.53 , 1.55  มิลลิเมตร ตามลำดับ  จะได้ว่าค่าเฉลี่ยแทนความหนาของเหรียญ 2 บาท จำนวน  1 เหรียญ มีค่าประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 1.55  มิลลิเมตร 
    สรุปผลการศึกษาการหาค่าเฉลี่ยความหนาของเหรียญ 5  บาท จากการสุ่มวัดความหนา
ของเหรียญ 5 บาท ครั้งละ 10 เหรียญ 20 เหรียญ และ 30 เหรียญ  จะมีความหนาอยู่ในช่วง 1.61 ถึง 2.29 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยในการสุ่มวัดเงินเหรียญทั้ง 3 แบบ คือ  1.90 ,  1.81 , 1.95  มิลลิเมตร ตามลำดับ  จะได้ว่าค่าเฉลี่ยแทนความหนาของเหรียญ 5 บาท จำนวน  1 เหรียญ มีค่าประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 1.89  มิลลิเมตร 
    สรุปผลการศึกษาการหาค่าเฉลี่ยความหนาของเหรียญ 10  บาท จากการสุ่มวัดความ
หนาของเหรียญ 10 บาท ครั้งละ 10 เหรียญ 20 เหรียญ และ 30 เหรียญ  จะมีความหนาอยู่ในช่วง 2.06 ถึง 2.26 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยในการสุ่มวัดเงินเหรียญทั้ง 3 แบบ คือ  1.92 ,  2.17 , 2.17 มิลลิเมตร  ตามลำดับ  จะได้ว่าค่าเฉลี่ยแทนความหนาของเหรียญ 10 บาท จำนวน  1 เหรียญ มีค่าประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 1.89  มิลลิเมตร 
จากการศึกษาหาค่าเฉลี่ยของเหรียญแต่ละชนิด พบว่า เหรียญชนิดเดียวกันจะมีความหนา
ไม่เท่ากัน ทั้งนี้เกิดจากเหรียญแต่ละเหรียญผ่านการใช้งานแตกต่างกัน  จึงนำค่าเฉลี่ยมาใช้เป็นค่ากลางในการหาค่าของเงินทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

2. การศึกษาหาความสัมพันธ์ของความหนาและค่าของเงินเหรียญ
    จากการศึกษาหาความสัมพันธ์ความหนาและค่าของเงินเหรียญแต่ละชนิด พบว่า ค่าเฉลี่ยความหนาของเหรียญมีความสัมพันธ์กับผลรวมความหนาและนำมาค่าของเงินทั้งหมดได้ นำมาเขียนสมการความสัมพันธ์ ได้ดังนี้  B  =  M/a  × A  
ดังนั้น ค่าของเงินรวมทั้งหมดเกิดจากผลรวมความหนาของเหรียญหารด้วยค่าเฉลี่ยของความหนาคูณด้วยค่าของเหรียญ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้