“ไฮเปอร์ลูบ” สูงถอยไปๆๆ
นำเข้าเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2561 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58557]  

“ไฮเปอร์ลูบ” มาแล้ว รถไฟความเร็วสูงถอยไป.....

 “ไฮเปอร์ลูบ” มาแล้ว รถไฟความเร็วสูงถอยไป เปิดแห่งแรกที่ดูไบ เร็วกว่าเครื่องบิน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“ไฮเปอร์ลูป” (Hyperloop) มาตอบโจทย์ระบบขนส่งมวลชนที่ต้องการความรวดเร็ว ทันใจ เพราะมันเร็วกว่าเครื่องบินโดยสาร แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก 
 
นวัตกรรมขนส่งสุดล้ำแห่งอนาคตดังกล่าวให้ความสะดวกรวดเร็วแบบทันอกทันใจคนเดินทางในยุคดิจิตัล เนื่องจากทำความเร็วสูงสุดถึง 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เครื่องบินจากซานฟรานซิสโก ไปลอสแองเจลิส ใช้เวลา 1.15 ชม, ไฮเปอร์ลูปใช้เวลา 35 นาที) และสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ราว 10,000 คนต่อชั่วโมง
 
เมืองแรกในโลกที่เปิดใช้ระบบไฮเปอร์ลูปก็ไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจที่ไหน แต่เป็นนครหลวงดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมืองและประเทศที่ร่ำรวยและมีการพัฒนาสู่ความทันสมัยที่สุดของโลกนั่นเอง คาดพร้อมให้ใช้งานในปี 2564
 
เมื่อเร็วๆ นี้ ดูไบเปิดตัว ''ไฮเปอร์ลูป'' เดินทางจาก ดูไบ ถึง อาบูดาบี ระยะทาง 165 กม.ใช้เวลา 12 นาที (หากใช้รถจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 90 นาที) ไปกรุงริยาดเมืองหลวงของซาอุดิอาระเบีย 48 นาที ไปโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์เพียง 23 นาที
 
ปัจจุบันนี้ มีหลายๆประเทศกำลังผุดโครงการสร้างขนส่งสุดล้ำนี้เช่นกัน เช่น สหรัฐอเมริกา (กำลังจะเสร็จ) รัสเซีย, ฟินแลนด์. สวีเดน,สวิตเซอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร หรือที่ใกล้บ้านเราในทวีปเอเซียก็มีที่เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มอาเซียนก็คืออินโดนีเซีย
 
ไฮเปอร์ลูป วัน (Hyperloop One) เป็นระบบขนส่งความเร็วสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวขับเคลื่อน ระบบของไฮเปอร์ลูปจะแตกต่างจากรถไฟทั่วไป โดยห้องโดยสารอยู่ภายในพาหนะคล้ายแคปซูลซึ่งเคลื่อนที่ผ่านท่อความดันต่ำที่มีความต้านทานน้อย ทำให้เดินทางได้อย่างรวดเร็วชนิดที่ว่าฉีกกฎทุกการเดินทางภาคพื้นดิน
 
ระบบขนส่งความเร็วสูง ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) 
กำลังกลายเป็นความจริงแล้วที่ดูไบ จากก่อนหน้าบริษัทไฮเปอร์ลูป วัน ผู้ผลิตเทคโนโลยียานยนต์ความเร็วสูง เจ้าของโครงการนี้ เคยประกาศว่ากำลังจะทดสอบวิ่งระบบขนส่งความเร็วสูงบนเส้นทางใหม่อีก 11 เส้นทางหลักในสหรัฐฯ หลังจากที่บริษัทได้ระดมเงินทุนเป็นจำนวน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 3,000 ล้านบาท) ทั้งในปีที่ผ่านมาได้เคยทดสอบไฮเปอร์ลูปเป็นครั้งแรกแล้ว กลางทะเลทรายที่รัฐเนวาดา สหรัฐฯ
 
ไฮเปอร์ลูปเป็นโครงการที่เกิดจากแนวคิดของ มร.อีลอน มัสก์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเทสล่า มอเตอร์สและบริษัทขนส่งอวกาศที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่างสเปซ เอ็กซ์ ตั้งแต่ปี 2556 โดยมีเป้าหมายต้องการสร้างระบบขนส่งความเร็วสูงที่ปลอดภัย ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับ 11 เส้นทางการเชื่อมต่อหลักในสหรัฐฯ ที่จะทำการทดสอบด้วยไฮเปอร์ลูปในอนาคต ได้แก่ เมืองลาสเวกัสไปเมืองรีโน รัฐเนวาด้า ใช้เวลาเดินทาง 42 นาที ชิคาโกไปโคลัมบัส ใช้เวลาเดินทาง 29 นาที และเมืองเดนเวอร์ไปเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที นอกจากนี้ อาจมีเส้นทางอื่นๆ เช่น นิวยอร์กไปวอซิงตัน ดีซี พอร์ตแลนด์ไปซีแอตเทิล ไมแอมีไปออร์แลนโด และลอสแองเจลิสไปแซนดีเอโก เป็นต้น
 
การก่อสร้างท่อขนส่งไฮเปอร์ลูป ความยาว 8 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในรูปแบบแคปซูล และแคปซูลนั้นจะวิ่งไปตามท่อโดยใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในการขับเคลื่อนที่ตัวรถจะยกขึ้นจากรางด้วยแม่เหล็ก (EMP) โดยไม่ก่อให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างตัวรถกับตัวราง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้รถไฟวิ่งได้เร็วสูงสุดถึง 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่าเครื่องบินกว่า 2 เท่า ซึ่งหมายความว่า หากเดินทางด้วยไฮเปอร์ลูป ระยะทางจากนิวยอร์กไปกรุงวอชิงตัน ดีซี ตามปกติรถไฟใช้เวลาเดินทางมากกว่า 3 ชั่วโมง ก็จะย่นระยะเหลือเพียง 20 นาทีเท่านั้น
 
มร.อีลอน มัสก์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไฮเปอร์ลูป วัน และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัทสเปซ เอ็กซ์ กล่าวว่า รถไฟแบบไฮเปอร์ลูปจะเป็นโครงการขนส่งมวลชนที่ถือว่ามีราคาถูกที่สุด เร็วที่สุด และมีศักยภาพมากที่สุดกว่าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วไป โดยบริษัทต้องการให้ 80% ของระบบการขนส่งทั่วสหรัฐฯใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า เพราะอยากให้ผู้คนสามารถเดินทางท่องเที่ยวภายในสหรัฐฯได้ในเวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง
 
จากการพัฒนาระบบไฮเปอร์ลูปนี้เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการขนส่งมวลชน เพราะหากการทดสอบโครงการไฮเปอร์ลูบสำเร็จจริง จะกลายเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่มีราคาถูกมากหากเทียบกับความเร็ว ซึ่งประชากรกว่า 83 ล้านคนจะได้ประโยชน์จากนวัตกรรมสุดล้ำนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงดังกล่าวจะกระทบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมถึงช่วยให้ผู้ผลิตสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังที่ดินที่มีราคาถูกและพนักงานอาศัยอยู่ในเมืองที่ค่าครองชีพต่ำ ที่สำคัญคือช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด
 
เบื้องต้น ต้นทุนของไฮเปอร์ลูป อยู่ที่ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.8 แสนล้านบาท) ต่อ 610 กิโลเมตร ซึ่งหากเฉลี่ยแล้ว ราคาค่าโดยสารจะอยู่ที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 700 บาทเท่านั้น ขณะที่ด้านทีมผู้พัฒนาคาดว่าจะเริ่มนำระบบไฮเปอร์ลูป มาใช้ขนส่งสินค้าได้จริงในอีก 2 ปีข้างหน้า และจะเริ่มใช้เพื่อการขนส่งผู้โดยสารได้ในปี 2564
 
 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้