ตะวันลับฟ้าที่ปารีส นำเข้าเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2561 โดย จุฬา ศรีบุตตะ อ่าน [699]
ข่าว เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง พระราชโอรสของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ลาว ได้สิ้นพระชนม์แล้วด้วยพระโรคชรา เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สิริพระชนมายุได้ 80 พรรษา 11 เดือน 12 วัน โดยมีใจความดังนี้.....
ขอถวายความอาลัยและน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง
ตะวันลับฟ้าที่ปารีส สิ้นแสงสุรีย์ลาวไกลบ้าน ศูนย์ความหวังของลาวไกลบ้านลาลับแล้ว
พุทธศาสนิกชนลาวกับวัดธรรมปทีป มีความสัมพันธ์กันที่ดีต่อกันมาก การเป็นคนอพยพพลัดถิ่น เป็นสิ่งไม่สามารถบรรยายได้ พลัดจากจากแผ่นดินที่เคยอยู่ ญาติพี่น้อง ต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกอย่างที่ไทยและฝรั่งเศส แม้พลัดถิ่นพำนัก แต่พวกเขาไม่เคยพลัดพรากจากการทำความดี บำรุงพระพุทธศาสนาไม่เคยขาด
รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอย่างดีงาม ช่วยสร้างวัด ทุกวัดในโลกนี้
คนลาวที่ฝรั่งเศสทำดีกับวัดธรรมปทีปมาก
..................
2 มกราคม 2018
ตะวันลับฟ้าที่มหาครปารีส ของประชาชนชาวลาว
สิ้นแสงสุรีย์ลาวไกลบ้าน
........
เมื่อวานนี้ ประชาชนชาวลาวได้สูญเสียบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ของประชาชนลาวในฝรั่งเศส คือ เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง ซึ่งเป็นพระโอรสของ พระมหากษัตริย์หรือที่คนลาวเรียกกันว่า พระเจ้ามหาชีวิต
องค์สุดท้ายของลาว นั่นคือ พระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา และองค์ราชินีคู่พระบารมีคือ พระอัครมเหสีคำผูย ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรส-ธิดาร่วมกันทั้งสิ้น 5 พระองค์ ได้แก่
-องค์มกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง
-เจ้าฟ้าชายศรีสว่าง
-เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง
-เจ้าฟ้าหญิงฉวีวรรณสว่าง มังคละมณีวงศ์
-เจ้าฟ้าหญิงดาราสว่าง ศรีสุภานุวงศ์
พ.ศ.2518 ราชอาณาจักรลาวเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย ไปสู่ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ราชบัลลังก์ลาวถูกยกเลิก สมาชิกราชวงศ์ถูกถอดออกจากฐานันดร
บรรดาประชาชน พ่อค้าชาวขาย นักการเมืองนับล้านคน อพยพหนีคอมมิวนิสต์ออกนอกประเทศ
ทว่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ยังคงประทับอยู่ในลาว รวมทั้งอดีตกษัตริย์ พระราชินี องค์มกุฎราชกุมาร พระราชโอรส เจ้าฟ้าชายพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีความพยายามจากฝ่ายราชอาณาจักรทูลเชิญอดีตสมาชิกราชวงศ์ให้เสด็จลี้ภัย รวมทั้งการต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ด้วยกำลังทางทหารอยู่หลายครั้งแต่ผลลัพธ์กลับเป็นลบ
ย่างเข้าปีที่ 2 แห่ง การปลดปล่อย สมาชิกราชวงศ์ถูกเชิญตัวไปยังค่ายสัมนา เพื่อเรียนรู้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล
อดีตกษัตริย์ พระราชินี องค์มกุฎราชกุมาร เจ้าฟ้าชายศรีสว่าง พระราชวงศ์ ราชนิกุล ที่ประทับในลาวเกือบ 30 องค์ถูกเชิญตัวไปพร้อมๆกัน
ขณะที่เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง และพระชายา ซึ่งประทับอยู่ในนครเวียงจันทน์ ทรงไหวตัวหนีออกจากที่ประทับได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเสด็จข้ามมาฝั่งไทย และขอลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของกษัตริย์และราชินีลาวองค์สุดท้าย จึงเป็นพระราชโอรสองค์เดียว ที่สามารถเอาชีวิตรอดจากระบอบใหม่ได้
หลังการรวมตัวกันของอดีตนักการเมือง ข้าราชการ-ทหาร ประชาชนลาวโพ้นทะเล เพื่อจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ได้ทูลเชิญ เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์ องค์ประธานสมาชิกพระราชวงศ์ รับราชภาระ ผู้สำเร็จราชการ ต่างพระเนตร พระกรรณพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว
ระหว่างลี้ภัยในฝรั่งเศส เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง เปรียบดังองค์สมมุติกษัตริย์ของลาวพลัดถิ่น ทรงปฏิบัติราชกิจตลอดทั้งปี เพื่อบำรุงความเป็นลาวให้คงมีอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางศาสนา และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหล่อเลี้ยงลมหายใจของประเพณีโบราณลาว เช่น การเสด็จไปเป็นองค์ประธานร่วมกับเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง องค์รัชทายาทลาว ในพระราชพิธีบาศรีหลวง ที่ประชาชนลาวโพ้นทะเลพร้อมใจกันจัดถวาย บุญปีใหม่ บุญเข้า-ออกพรรษา ตลอดจนการปรากฏพระองค์ในที่ชุมนุมทหารผ่านศึก
ทรงเป็นบุคคลสำคัญของชาวลาว ทั้งในฐานะที่เป็นหนึ่งในสามชิกราชวงศ์เพียงไปกี่องค์ที่มีช่วงชีวิตพาดผ่านประวัติศาสตร์โชกเลือดบนแผ่นดินลาว และในฐานะของศูนย์รวม ความหวัง ของลาวบ้านไกล
เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง ประสูติเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2480 ที่โฮงหัวลาด พระราชอาณาจักรหลวงพระบาง แคว้นลาว ประเทศอินโดจีน สิ้นพระชนม์แล้วด้วยพระโรคชรา เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส สิริพระชนมายุได้ 80 พรรษา 11 เดือน 12 วัน
ทว่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ยังคงประทับอยู่ในลาว รวมทั้งอดีตกษัตริย์ พระราชินี องค์มกุฎราชกุมาร พระราชโอรส เจ้าฟ้าชายพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีความพยายามจากฝ่ายราชอาณาจักรทูลเชิญอดีตสมาชิกราชวงศ์ให้เสด็จลี้ภัย รวมทั้งการต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ด้วยกำลังทางทหารอยู่หลายครั้งแต่ผลลัพธ์กลับเป็นลบ
ย่างเข้าปีที่ 2 แห่ง การปลดปล่อย สมาชิกราชวงศ์ถูกเชิญตัวไปยังค่ายสัมนา เพื่อเรียนรู้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล
อดีตกษัตริย์ พระราชินี องค์มกุฎราชกุมาร เจ้าฟ้าชายศรีสว่าง พระราชวงศ์ ราชนิกุล ที่ประทับในลาวเกือบ 30 องค์ถูกเชิญตัวไปพร้อมๆกัน
ขณะที่เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง และพระชายา ซึ่งประทับอยู่ในนครเวียงจันทน์ ทรงไหวตัวหนีออกจากที่ประทับได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเสด็จข้ามมาฝั่งไทย และขอลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของกษัตริย์และราชินีลาวองค์สุดท้าย จึงเป็นพระราชโอรสองค์เดียว ที่สามารถเอาชีวิตรอดจากระบอบใหม่ได้
หลังการรวมตัวกันของอดีตนักการเมือง ข้าราชการ-ทหาร ประชาชนลาวโพ้นทะเล เพื่อจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ได้ทูลเชิญ เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์ องค์ประธานสมาชิกพระราชวงศ์ รับราชภาระ ผู้สำเร็จราชการ ต่างพระเนตร พระกรรณพระเจ้ามหาชีวิตแห่งราชอาณาจักรลาว
ระหว่างลี้ภัยในฝรั่งเศส เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง เปรียบดังองค์สมมุติกษัตริย์ของลาวพลัดถิ่น ทรงปฏิบัติราชกิจตลอดทั้งปี เพื่อบำรุงความเป็นลาวให้คงมีอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางศาสนา และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหล่อเลี้ยงลมหายใจของประเพณีโบราณลาว เช่น การเสด็จไปเป็นองค์ประธานร่วมกับเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง องค์รัชทายาทลาว ในพระราชพิธีบาศรีหลวง ที่ประชาชนลาวโพ้นทะเลพร้อมใจกันจัดถวาย บุญปีใหม่ บุญเข้า-ออกพรรษา ตลอดจนการปรากฏพระองค์ในที่ชุมนุมทหารผ่านศึก
ทรงเป็นบุคคลสำคัญของชาวลาว ทั้งในฐานะที่เป็นหนึ่งในสามชิกราชวงศ์เพียงไปกี่องค์ที่มีช่วงชีวิตพาดผ่านประวัติศาสตร์โชกเลือดบนแผ่นดินลาว และในฐานะของศูนย์รวม ความหวัง ของลาวบ้านไกล
เจ้าฟ้าชายโสริยวงศ์สว่าง ประสูติเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2480 ที่โฮงหัวลาด พระราชอาณาจักรหลวงพระบาง แคว้นลาว ประเทศอินโดจีน สิ้นพระชนม์แล้วด้วยพระโรคชรา เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส สิริพระชนมายุได้ 80 พรรษา 11 เดือน 12 วัน
|