ความสุข 4ชีวิตของคน
นำเข้าเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2560 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58763]  

ความสุข 4 ประการ : ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคน คำว่า คนในความหมายของจริยศาสตร์คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งมีความแตกต่างกับสัตว์ 2 ประการ 1. ทางด้านโครงสร้างของร่างกาย คนมีโครงสร้างสูงขึ้นในแนวดิ่งของโลก ส่วนสัตว์มีโครงสร้างของร่างกายยาวไปตามแนวนอนของพื้นผิวโลก 2. ทางด้านพฤติกรรมคนแสดงพฤติกรรมภายใต้การควบคุมของเหตุผล ส่วนสัตว์แสดงออกพฤติกรรมภายใต้การควบคุมของสัญชาตญาณ คำว่า คนในความหมายของพระพุทธศาสนาหมายถึงสัตว์ประเสริฐ จึงเรียกว่ามนุษย์แปลว่าผู้มีจิตใจสูง (มนะ=ใจ และอุษยะ=สูงรวมกันเป็นมนุษย์).....

คนตามนัยแห่งคำสอนของพุทธศาสนาประกอบ 2 ส่วนคือ 1. ส่วนกาย 2. ส่วนจิต ใน 2 ส่วนนี้ แต่ละส่วนมีความต้องการต่างกัน ส่วนที่เป็นกายมีความเบื้องต้นอย่างน้อย 4 ประการคือ 1. อาหาร 2. เครื่องนุ่งห่ม 3. ที่อยู่อาศัย 4. ยารักษาโรค ซึ่งเป็นสิ่งสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ส่วนที่เป็นจิตมีความต้องการขั้นพื้นฐานคือ ความรัก ความเข้าใจจากผู้คนรอบข้าง และความรู้สึกปลอดภัย เป็นต้น โดยสรุปคนทุกคนแสวงหาสิ่งที่ตนเองอยากมีและอยากเป็น ถ้าแสวงหาแล้วได้มาก็มีความสุข แต่ถ้าไม่ได้มาก็เป็นทุกข์ ดังนั้น คนทุกคนจึงมีทั้งความสุขกายและความสุขใจเมื่อได้มา และถ้าไม่ได้ก็มีทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ แต่โดยรวมแล้ว ความสุขของคฤหัสถ์ตามนัยแห่งคำสอนของพุทธศาสนามีอยู่ 4 ประการคือ 1. อัตถิสุข คือ สุขเกิดจากการมีทรัพย์ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจและเอิบอิ่มใจว่าตนมีทรัพย์ที่ได้มา ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนและโดยชอบธรรม 2.โภคสุข คือ สุขเกิดจากการใช้ทรัพย์ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจ และเอิบอิ่มใจว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์ 3. อนณสุข คือ สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจ และเอิบอิ่มใจว่าตนเป็นไท ไม่เป็นหนี้ติดค้างใคร 4. อนวัชชสุข คือ สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจ และเอิบอิ่มใจว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย อันใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับกาย วาจา และใจ ความสุข 4 ประการนี้ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนว่าอยู่ดีมีความสุขหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านต้องการจะรู้ว่าตนเองหรือคนรอบข้างท่าน หรือแม้กระทั่งคนทั้งประเทศอยู่ดีมีความสุขหรือไม่ ก็ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย และการเป็นหนี้ รวมไปถึงพฤติกรรมทั้งในส่วนของปัจเจกบุคคล และสังคมโดยรวมแล้วนำมาเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด 4 ตัวดังกล่าวแล้ว ก็จะบอกได้ว่าคนไทยในปัจจุบันอยู่อย่างมีความสุขหรืออยู่อย่างมีความทุกข์ ในขณะที่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และในขณะที่นักวิชาการมุ่งแต่ปั้นตัวเลขจีดีพีโตเท่านั้น เท่านี้ แล้วบอกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีนั้น แท้จริงแล้วการยึดตัวเลขในทำนองนี้มิได้สะท้อนความสุขของคนในชาติแต่ประการใด แต่สะท้อนถึงการที่คนกลุ่มหนึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ให้ดูจากตัวอย่างในประเทศที่เจริญแล้ว และในแต่ละปีตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่าคนในชาติส่วนหนึ่ง และอาจเป็นส่วนใหญ่ของประเทศด้วย ไม่มีความสุข 4 ประการตามนัยแห่งคำสอนข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ความเจริญทางวัตถุ และตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจมิได้ประกันว่าคุณภาพชีวิตของคนในชาติจะสูงขึ้นตามตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามอาจสวนทางกันด้วยซ้ำไป

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้