คำตัดสินศาลโลก:ตีความคดีปราสาทพระวิหาร
นำเข้าเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2560 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58548]  

12 พ.ย.2556 คำตัดสินศาลโลก:ตีความคดีปราสาทพระวิหาร ไทยกับกัมพูชา, คนไทย, วันนี้ในอดีค, ศาลโลก, คดีปราสาทพระวิหาร, นักวิชการ, จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย, ยิ่งลักษณฺ์ ชินวัตร, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต เพราะความขัดแย้งกันภายในประเทศไทย มีส่วนทำให้กัมพูชานำเอาประเด็นอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหารไปขึ้นศาลโลกเป็นครั้งที่สอง.....

ช่วงเวลา 3 ปีภายหลังปราสาทพระวิหารได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี 2551 กัมพูชากับไทยได้เกิดการปะทะกันหลายครั้งรอบๆ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก และทำให้ประชาชนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่อีกหลายพันคน ยังผลให้ฝ่ายกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อให้ตัดสินสร้างความกระจ่างเพิ่มเติมให้แก่คำพิพากษาในปี 2505 คดีปราสาทพระวิหารเป็นความขัดแย้งระหว่างกัมพูชากับไทยซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหารซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทย ด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษและชายแดนกัมพูชา ด้านจังหวัดพระวิหาร เกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) ณกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปีพ.ศ. 2502 คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่15 มิ.ย. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม การตัดสินคดีปราสาทพระวิหารครั้งแรก ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังมาตลอด 11 พ.ย. 2556 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ได้พิพากษาให้กัมพูชาเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาทพระวิหาร อันตั้งอยู่ตรงชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ในคำตัดสินครั้งสำคัญซึ่งมุ่งหมายยุติข้อพิพาทอันยืดเยื้อหลายสิบปี ทั้งนี้ ศาลสูงสุดของสหประชาชาติแห่งนี้ ยังได้สั่งให้รัฐบาลไทยถอนกำลังรักษาความมั่นคงของตนออกมาจากพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย คำตัดสินคราวนี้ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเส้นพรมแดนของทั้งสองประเทศในบริเวณรอบๆ ปราสาทพระวิหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วแห่งนี้ จึงเป็นการปฏิเสธข้ออ้างของฝ่ายกัมพูชาที่ว่า ตนเองเป็นมีอำนาจอธิปไตยเหนือภูเขาพนมตรวบ หรือภูมะเขือที่อยู่ใกล้ๆ กับปราสาท “ฮอร์ นัมฮง” รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา แถลงที่กรุงเฮกว่า คำพิพากษานี้ “ดีเพียงพอทีเดียว” ขณะที่พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยกล่าวว่าพวกเขาจะเปิดการเจรจากับฝ่ายกัมพูชาต่อไป “ฮุนเซน” นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้ออกคำแถลงยกย่องชมเชยคำตัดสินนี้ของศาลโลกว่า "เป็นการก้าวไปข้างหน้าครั้งสำคัญ” และบอกว่าเป็นคำตัดสินที่มี “ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในการแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทเหนือปราสาทพระวิหารและพื้นที่รอบๆ ปราสาทอย่างสันติ เราขอให้คำมั่นว่าจะไม่กระทำการใดๆ ในทางยั่วยุซึ่งอาจนำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง และจะป้องกันไม่ให้บุคคลใดๆ ยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง” "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวในระหว่างการแถลงทางโทรทัศน์ภายหลังศาลโลกมีคำพิพากษาแล้วว่า เธอจะจัดการเจรจากับกัมพูชา พร้อมกับให้สัญญาว่าจะปกป้องผลประโยชน์ของไทย “สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย แถลงที่กรุงเฮกว่า “คำตัดสินนี้เป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่าย และประเทศทั้งสองจะจัดการเจรจากันในคณะกรรมการซึ่งวางแผนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน" ภายหลังคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคราวนี้ ปรากฏว่าโรงเรียนแห่งต่างๆ ของไทยที่ถูกติดกับชายแดนกัมพูชาได้หยุดการเรียนการสอน โดยที่ในกรุงเทพมหานครผู้ชุมนุมเดินขบวนรายหนึ่งได้จุดไฟเผาธงชาติกัมพูชาบนถนนสายหนึ่ง ขณะที่กระทรวงมหาดไทยของกัมพูชาได้เสริมกำลังตำรวจ ที่รักษาการณ์อยู่ด้านนอกของสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงพนมเปญ มีคลื่นใต้น้ำพยายามสร้างสถานการณ์ หลังศาลโลกตัดสินคดีปราสาทพระวิหารครั้งที่สอง จนนำไปสู่ความขัดแย้ง ควบคู่กับเกิดกระแสรักชาติอย่างบ้าคลั่ง วันนี้ในอดีต 12 พ.ย.2556 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สติสังคมไทยผ่านการแถลง“คำตัดสินศาลโลก:ตีความคดีปราสาทพระวิหาร” ตอกย้ำให้ประชาชนคนไทนตระหนักว่าไทยแพ้คดีปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล“จอมพลสฤฏดิ์ ธนะรัชต์” "ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์" ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯระบุว่าคำตัดสินของศาลโลกเมื่อวันที่ 11 พ.ย.2556 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินของศาลโลกที่ได้ให้ไว้ในปี 2505 คือปราสาทพระวิหาร และพื้นที่บางส่วน เป็นของกัมพูชา ซึ่งไทยแพ้คดีนี้มาตั้งแต่อดีตแล้ว เพียงแต่หลังจากคำตัดสินในครั้งนั้น กัมพูชาและไทยตีความแตกต่างกัน ดังนั้นหัวใจของคำตัดสินครั้งนี้ คือ“การตีความ”คำว่าวิซินิตี้(vicinity) หรือบริเวณข้างเคียงปราสาทพระวิหาร โดยที่ศาลได้พิจารณาตามความเห็นของศาลเอง ไม่ได้รับฟังข้ออ้างของกัมพูชา ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับฟังพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีของไทยในอดีตเคยตีความไว้เรียกได้ว่าไทยก็ไม่ได้ชนะทั้งหมด และกัมพูชาก็ไม่ได้บริเวณทั้งหมดที่เขาขอเช่นเดียวกัน ในวันนั้น “ศ.ดร.ชุมพร” อธิบายคำว่าเสียพื้นที่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกและการตีความส่วนบุคคล ซึ่งหากมองว่าเสียพื้นที่ในส่วน 4.6 ตร.กม. ถือว่าไทยไม่แพ้ แต่หากมองว่าเป็นการเสียพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรีสมัยจอมพลสฤฏดิ์ ธนะรัชต์ ถือว่าประเทศไทยแพ้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ประชาชนต้องเข้าใจก่อนว่าเราผู้แพ้คดีปราสาทเขาพระวิหารมานานแล้ว และขณะนี้เมื่อมีคำตัดสินออกมาแล้วก็ต้องยึดตามคำตัดสิน รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมให้สติคนไทยว่า ปราสาทพระวิหารเป็นสมบัติร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ในทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เป็นการแสดงถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้น ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชา ควรคิดว่าเรามาร่วมมือกัน ร่วมกันจรรโลงสมบัติของชาติอย่างไร ร่วมกันศึกษาและพลิกฟื้นจิตวิญญาณของปราสาทพระวิหาร ทั้งที่ปราสาทพระวิหาร มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่มีผู้มาจาริกแสดงบุญและบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ตนศรัทธาร่วมกัน เป็นคุณค่าที่มีความหมาย ปราสาทพระวิหารเป็นสมบัติร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ในทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เป็นการแสดงถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้น ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชา ควรคิดว่าเรามาร่วมมือกัน ร่วมกันจรรโลงสมบัติของชาติอย่างไร ร่วมกันศึกษาและพลิกฟื้นจิตวิญญาณของปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่ปี 2554 มูลค่าค้าขายของไทยในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ตกถึง 93,152 ล้านบาท มีสินค้าของไทยไปขายมากมาย ไทยมีบริษัทที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชา ความสำคัญของไทยและกัมพูชาจึงเป็นประโยชน์ให้แก่คนในหลายระดับ จากนั้นนักวิชาการไทยระดับแถวหน้าของเมืองไทย ทั้งคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ต่างจัดเวทีปลุกกระแสคนไทยรักชาติอย่างมีสติ

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้