เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้
นำเข้าเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2559 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58674]  

.....

                            เล่าขาน "ตำนานพญาครุฑ" เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้ โดย ผู้จัดการรายวัน 1 ธันวาคม 2559 21:08 น. (แก้ไขล่าสุด 3 ธันวาคม 2559 22:46 น.) ภาพเขียนนารายณ์ทรงครุฑแบบอินเดีย "ครุฑกับนาคเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เพราะแม่ของครุฑกับนาคเป็นพี่น้องกัน" ประสาท ทองอร่าม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "ครูมืด"

                     ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมไทยจากกรมศิลปากร เกริ่นขึ้นในงานเล่าขาน "ตำนานพญาครุฑ" ทำให้ใครหลายคนที่นั่งฟังอยู่ใน "พิพิธภัณฑ์ครุฑ" เกิดอาการครุ่นคิด เพราะถ้าเป็นลูกพี่ลูกน้องกันทำไมครุฑต้องจับนาคกินด้วย ท่ามกลางความสงสัย และอยากรู้คำตอบ "ครูมืด" ค่อยๆ

                       เริ่มเล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้น กระทั่งยาวไปจนถึงจุดแตกหักของครุฑกับนาคจนกลายเป็นศัตรูต่อกันตลอดกาล "พระทักษะปชาบดีได้ยกสิบสามนางให้พระกัศยปเทพบิดร ซึ่งธิดาสององค์ คือนางวินตา และนางกัทรุ แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน โดยนางกัทรุขอพรจากพระกัศยปให้มีบุตรเป็นนาคหนึ่งพันตัว ส่วนนางวินตาขอพรให้มีบุตรเพียงสององค์ แต่ให้มีฤทธิ์อำนาจมากกว่าบุตรของนางกัทรุ นางกัทรุคลอดลูกออกมาเป็นไข่หนึ่งพันฟอง

                          เมื่อเวลาผ่านไปห้าร้อยปีกก็บังเกิดเป็นนาคหนึ่งพันตัว ส่วนนางวินตา คลอดลูกเป็นไข่สองฟอง หลังจากเวลาผ่านไปเนิ่นนานไข่ก็ยังไม่ฟักเป็นตัว นางวินตาจึงทุบไข่ใบแรก ปรากฏเป็นเทพมีเพียงครึ่งองค์ ไม่มีท่อนล่าง เนื่องจากเกิดก่อนกำหนดนามว่า อรุณเทพบุตร พระอรุณโกรธนางวินตาที่ทำให้ตนพิการ จึงสาปให้ต้องไปเป็นทาสนางกัทรุเป็นเวลาห้าร้อยปี แต่ก็บรรเทาคำสาปว่า หากนางวินตาสามารถทนรอไปอีกห้าร้อยปีจนไข่อีกฟองหนึ่งฟักเป็นตัว บุตรในไข่ใบที่สองจะช่วยนางให้พ้นคำสาป เล่าขาน ตำนานพญาครุฑ

                           เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้ ประสาท ทองอร่าม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "ครูมืด" ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมไทยจากกรมศิลปากร ต่อมานางวินตา และนางกัทรุแข่งพนันทายสีม้าเทียมรถทรงของพระอาทิตย์ โดยมีข้อแม้ว่าหากผู้ใดแพ้ต้องยอมเป็นทาสของอีกฝ่ายหนึ่ง นางกัทรุใช้อุบายให้นาคผู้เป็นลูกเข้าไปแทรกอยู่ในรถขนม้า เพื่อให้สีเปลี่ยนไป นางวินตาจึงแพ้พนัน กลายเป็นทาสของนางกัทรุ

                    หลังจากนั้นอีกห้าร้อยปี ไข่ใบที่สองก็แตกออกมาเป็นบุตรผู้มีกำลังมหาศาล มีรัศมีทองสว่างไสวกว่าพระอาทิตย์นับร้อยเท่า มีศีรษะ จงอยปาก และปีกเหมือนนกอินทรี แต่ร่างกาย และแขนขาเหมือนมนุษย์มีนามว่า "เวนไตย" (แปลว่า เกิดจากนางวินตา) เมื่อพญาเวนไตยเติบโตขึ้น ทราบว่ามารดาตนต้องเป็นทาสของกัทรุเพราะแพ้อุบาย จึงขอไถ่ตัวนางวินตาจากเหล่านาค พวกนาคก็ยินยอม โดยมีข้อแม้ว่า พญาเวนไตยต้องไปเอาน้ำอมฤตที่พระอินทร์เก็บรักษาไว้บนสวรรค์มาให้พวกตน พญาเวนไตยตกลง

                              โดยก่อนออกเดินทางได้ขอพรจากมารดา ซึ่งนางวินตาบอกว่า ระหว่างทางหากหิว ให้กินเฉพาะคนป่าเถื่อน (นิษาท) และห้ามทำอันตรายพวกพราหมณ์โดยเด็ดขาด พญาเวนไตยก็รับคำมารดา ระหว่างทางเมื่อเกิดความหิวก็จับพวกนิษาทกินเป็นอาหารแต่ก็ไม่อิ่ม จึงไปจับเต่า (วิภาวสุ) และช้าง (สุประตึกะ) ซึ่งเดิมเป็นอสูรพี่น้อง แต่เกิดความโลภแย่งสมบัติกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างสาปให้กลายเป็นเต่า และช้างที่มีขนาดใหญ่โตมาก เล่าขาน ตำนานพญาครุฑ

                        เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้ พญาเวนไตยเอาปากคาบสัตว์ทั้งคู่บินไปเกาะกิ่งไทรที่มีความยาวถึงหนึ่งร้อยโยชน์ แต่กิ่งไทรทานน้ำหนักไม่ไหว หักลงมา พญาเวนไตยแลเห็นว่าบนกิ่งไทรมีพวกฤาษีแคระซึ่งเรียกว่า "พาลขิยะ" มีขนาดเท่านิ้วมือ จึงเอาเท้าจับกิ่งไทรบินพาไปวางไว้ที่เขาเหมกูฏ พวกฤๅษีเห็นว่า พญานกตนนี้มีจิตใจงดงาม จึงให้ชื่อว่า "ครุฑ" แปลว่าผู้รับภาระอันหนัก ทั้งยังให้พรว่า ไม่ว่าจะทำสิ่งใดให้สำเร็จตามประสงค์ และให้มีพละกำลังมหาศาล ไม่มีผู้ใดต้านทานได้ จากนั้น พญาครุฑก็บินไปยังเทวโลก แต่เจอผู้รักษานำน้ำอมฤต นั่นก็คือ

                          พระอินทร์จึงการเกิดสู้รบกัน แม้จะถูกสายฟ้าของพระอินทร์ฟาดได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น เรื่องนี้พระนารายณ์ทราบดีว่า พญาครุฑไม่ได้เอาน้ำอมฤตมากินเอง แต่ต้องการจะไถ่ความเป็นทาสให้กับผู้เป็นแม่ จึงมอบน้ำอมฤต พร้อมกับให้พรแห่งความเป็นอมตะแม้ตัวพญาครุฑจะไม่ได้ดื่มกินก็ตาม พญาครุฑจึงให้สัจจะกับพระรายณ์ว่า เรายอมเป็นพาหนะให้ทานให้ขับขี่เดินทางเวลาเสด็จไปยังที่ต่างๆ เล่าขาน ตำนานพญาครุฑ เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้ ครุฑที่หัวเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ด้วยเหตุนี้

                                 ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ" และนั่นจึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า ทำไมพระนารายณ์ทรงสุบรรณ เรื่องยังไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อมอบน้ำอมฤตไปให้พญานาคแล้ว พระนารายณ์ทรงเน้นย้ำให้รีบฉวยนำกลับมา อย่าให้พวกพญานาคได้ เพราะถ้าได้ดื่มกินแล้วจะยิ่งเหิมเกริม ไม่เกรงกลัวใคร ดังนั้น เมื่อพญานาคไถ่ความเป็นทาสให้แม่ได้แล้ว พระอินทร์จึบขโมยกลับไป พวกพญานาครู้ว่าไม่มีน้ำอมฤตแล้ว มีแต่หยดน้ำค้างตามหญ้าคาจึงใช้ลิ้นเลียกระทัั่งถูกบาดเป็นลิ้นสองแฉก ทำให้ครุฑกับนาคจึงกลายเป็นศัตรูต่อกันตลอดกาล" ทั้งนี้ ตำนานดังกล่าว "ครูมืด" เผยให้ฟังด้วยว่า ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยก็มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

                           ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเรียกว่า "ตราพระครุฑพ่าห์" ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสมัยอยุธยาและสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่วนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครุฑถูกนำมาใช้เป็นเครื่องหมายประดับบนธงเรียกว่า "ธงมหาราช"

                        ซึ่งจะถูกชักขึ้น ณ ที่ที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ตราอาร์มแทนตราแผ่นดินในระยะหนึ่ง ต่อมาทรงดำริว่าตราอาร์มมีความเป็นตะวันตกมากเกินไป จึงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนมาใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์อีกครั้งหนึ่ง และมีราชประสงค์ให้ใช้พระครุฑพ่าห์นี้เป็นตราแผ่นดินสืบไป เล่าขาน ตำนานพญาครุฑ เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้ พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เล่าขาน ตำนานพญาครุฑ เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้ ครุฑบนผ้าทิพย์และเขนยอิงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เล่าขาน ตำนานพญาครุฑ เรื่องที่ใครหลายคนยังไม่รู้ พระครุฑพ่าห์ยังถูกใช้เป็นตราประจำสถานที่ราชการต่างๆ ของรัฐบาลไทย ใช้พิมพ์บนหัวหนังสือเอกสารทางราชการต่างๆ และเป็นตราประทับของหนังสือที่ออกโดยกรมกองต่างๆ ทั้งนี้บริษัท หรือห้างร้านที่จดทะเบียนตามกฎหมาย เคยติดต่อกับราชสำนัก

                        ประกอบการค้าโดยสุจริต มีความมั่งคง และน่าเชื่อถือ ก็อาจได้รับพระบรมราชานุญาตตราตั้ง หรือตราครุฑพระราชทานประดับไว้ที่ห้างร้านของตนตามแต่จะทรงพระกรุณาเห็นสมควร หากใครอยากตามรอยพญาครุฑ และพญานาค ระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ก็จะถึงนิคมอุตสาหกรรรมบางปู จ.สมุทรปราการ อันเป็นทีตั้งของศูนย์ฝึกอบรมธนาคารธนชาต และ "พิพิธภัณฑ์ครุฑ" ซึ่งนับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก

                           จัดสร้างขึ้นจากแนวความคิดของผู้บริหารธนาคารธนชาตที่ต้องการส่งผ่านความเคารพและความรู้ในองค์ครุฑที่มีความสำคัญปรียบเสมือนสัญญลักษณ์แห่งพระเจ้าแผ่นดิน และตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ความศรัทธาของคนไทยที่มีต่อองค์ครุฑ ปัจจุบันได้รวบรวมองค์ครุฑจากสาขาของธนาคารนครหลวงไทยทั่วประเทศ ซึ่งพบองค์ครุฑเก่าแก่ที่แกะสลักจากไม้สักทั้งสิ้น 40 องค์

                          องค์แรกคือองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่สาขาราชดำเนิน เป็นองค์ที่แกะสลักจากไม้สักอายุเก่าแก่ ซึ่งยังมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันองค์ครุฑจะทำจากไฟเบอร์ ซึ่งมีทั้งเก่าและใหม่ผสมกัน และมีด้วยกันหลากหลายแบบ สะท้อนถึงศิลปะตามพื้นที่ อย่างเช่นองค์ที่เยาวราชก็จะมีหน้าตาที่แสดงถึงความเป็นจีน

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้