อะไรคือ “ข้อผิดพลาด”
นำเข้าเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2559 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58538]  

อะไรคือ “ข้อผิดพลาด”.....

แม้แผ่นดินไทยจะได้ชื่อว่า “อุดมสมบูรณ์” ทว่าอีกด้านหนึ่งเกษตรกรไทยมัก “ยากจน” มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าผู้คนอาชีพอื่นๆ ซ้ำร้ายยังเต็มไปด้วย “หนี้สิน” อีกทั้งยังถูกมองว่า “ทำลายธรรมชาติ” จากการถางป่าปลูกพืชเชิงเดี่ยวบ้าง ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐพยายาม “อัดฉีดงบประมาณและโครงการพัฒนา” ลงไปยังชนบทอยู่ทุกยุคสมัย แต่ก็ “ไม่ได้ผลนัก” เพราะเมื่อรัฐหยุดสนับสนุน โครงการทั้งหลายก็ “สะดุด” ล้มลงไปด้วย

อะไรคือ “ข้อผิดพลาด” ของโครงการเหล่านี้!!!

ที่งานประชุมวิชาการ “ความท้าทายต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอเชีย” 8 มิ.ย. 2559 ณ โรงแรมดุสิตธานี แยกศาลาแดงกรุงเทพฯ “อาจารย์ดำ” ปณิธี บุญสา อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ) บอกเล่าเรื่องราวของ “ปางจำปีโมเดล” หรือ บ้านปางจำปี ต.ห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น “ชุมชนตัวอย่าง” การันตีด้วยรางวัล “ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริประเภทชุมชน” จาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ประจำปี 2552

ปณิธี เล่าว่า ย้อนไปเมื่อประมาณปี 2546 ครั้งนั้นชาวบ้านปางจำปี เขียนโครงการมาขอความช่วยเหลือจาก ม.แม่โจ้ ว่าอยากเลี้ยงกุ้งและปลากระชัง ทว่าพอตนลงพื้นที่สำรวจ ภาพที่เห็นคือ “ความแห้งแล้ง” ลำธารไม่มีน้ำ ซึ่งไม่ว่าใครดูก็รู้ หากยังฝืนทำโครงการนี้ไปแล้วต้อง “ล้มเหลว” สูญเสียงบประมาณไปอย่าง “เปล่าประโยชน์” แน่นอน

ปณิธี บุญสา, สุจิตต์ ใจมา

นักวิชาการรายนี้ กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นจึงต้อง “เข้าถึง” ด้วยการพูดคุยสนทนา และทำกิจกรรมร่วมกันกับชาวบ้าน เพื่อให้คนในพื้นที่ “เข้าใจ” เสียก่อนว่าถ้าไม่แก้ที่ต้นเหตุคือ “ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม” บ้านปางจำปีก็จะไม่มีแหล่งน้ำที่พอเพียงจะทำกิจการใดๆ ต่อไปได้เลย ซึ่ง 1 ในกิจกรรมที่ทำคือการให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ “ล้อมวงเขียนประวัติตนเอง” แล้วเล่าสู่กันฟังในกลุ่ม

“พอเขาเขียนประวัติตนเองผมก็พบนัยแฝง ชาวปางจำปีเขาก็สอนผม คือเขาสามารถเทียบเคียงชีวิตของเขา ตั้งแต่เติบโตมาในช่วงที่ปางจำปียังมีน้ำอุดมสมบูรณ์ แล้วก็ไปตัดไม้ทิ้ง แล้วก็ต้องมาฟื้นฟู แต่ละคนก็จะเล่าเรื่องของตนในวงสนทนา อันนี้ก็จะลดความขัดแย้งได้ เพราะทุกคนเห็นภาพร่วมกันหมด”

ปณิธี ระบุ ซึ่งวิธีการดังกล่าว นอกจากจะค้นพบเหตุแห่งความแห้งแล้งแล้ว แต่ละคนยังค้นพบด้วยว่า “ตนจะช่วยหมู่บ้านได้อย่างไร” เช่น บางคนถนัดการทำฝาย บางคนเชี่ยวชาญด้านพันธุ์ไม้ เป็นต้น ขณะที่อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้โครงการพลิกฟื้นบ้านปางจำปี “รุดหน้า-ราบรื่น” มาจากการ “ค้นพบตนเอง” ของผู้นำชุมชน โดย สุจิตต์ ใจมา ผู้ใหญ่บ้านปางจำปี เล่าว่า ในอดีตลูกบ้าน “ไม่ปลื้ม” เท่าใดนัก เพราะนิสัย “ขี้เหล้า” เมาหัวราน้ำ ถึงขนาดถูก “ขับไล่” จากตำแหน่งมาแล้วเมื่อเข้าร่วมโครงการจึงตัดสินใจ “เลิกดื่ม” จนเรียก “ศรัทธา” จากลูกบ้านคืนมาได้

“พอเลิกดื่มเหล้า คนรอบข้างเมื่อก่อนเขาไม่เชื่อฟังตอนหลังเขารู้เขาเห็นว่าเราทำจริง พอพูดอะไรทีนี้เขาก็เชื่อ คือเริ่มจากตัวเราก่อน แล้วค่อยขยับไปเป็นครอบครัว เป็นชุมชน วันนี้คนปางจำปีดูแลป่า รักษาต้นน้ำ ทำวังปลา (เลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลา)พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม น้อมนำความสามัคคีในชุมชน” คุณลุงสุจิตต์ กล่าว

“บทเรียนสำคัญ” ของเรื่องนี้..เริ่มที่ “คน” ทำให้ผู้นำชุมชนเป็น “แบบอย่างที่ดี” แก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองก่อน และทำให้ทั้งชุมชนเกิดความเข้าใจร่วมกัน จากนั้นจึงนำไปสู่การแก้ไข โดย “ร่วมคิดร่วมทำ” จากคนในพื้นที่เอง มิใช่การสั่งการจากบนลงล่างอย่างขาดความเข้าใจ และนี่คือ “คำตอบ” ที่ทำให้ปางจำปี “พลิกฟื้น” ขึ้นมาได้

กลายเป็น “ตัวอย่าง” ของการพัฒนาที่ “ยั่งยืน”!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้