สรรพากรเตรียมจัดแพ็กเกจชุดใหญ่ แบ่งเบาภาระภาษี
นำเข้าเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2559 โดย สุเมธ ปาละวงษ์
อ่าน [58556]  

มนุษย์เงินเดือนเฮลั่น! “สรรพากร” ต่ออายุภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7 ขั้นต่ออีก 1 ปี พร้อมเสนอโครงสร้างภาษีมนุษย์เงินเดือนใหม่ให้ “ขุนคลัง” พิจารณา เล็งเพิ่มลดหย่อนเป็น 1 แสนบาท จากเดิม 6 หมื่นบาท และจะทำให้ผู้มีรายได้มากกว่า 2 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 3 หมื่นบาท จะไม่มีภาระภาษีต้องเสียภาษี คาดสรุปได้ในไตรมาสแรกปีนี้ ... .....

 นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ปรับลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาแบบ 7 ระดับขั้น ต่อไปอีก 1 ปีนั้น เป็นการใช้บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ปรับปรุงเมื่อปี 2556 ต่อไปอีก 1 ปี จากเดิมที่สิ้นสุดในปี 2558 เป็นสิ้นสุดสําหรับเงินได้สุทธิที่ได้รับในปี 2559 ที่ต้องยื่นเสียภาษีปี 2560 เนื่องจากรัฐบาลมีความจําเป็นในการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ เพื่อให้สอดคล้องต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ และค่าครองชีพในปัจจุบัน ทั้งนี้ บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะใช้ต่อไปจนถึงปี 2559 ประกอบด้วย เงินได้สุทธิ 0-300,000 บาท เสียภาษี 5%, เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10%, เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท เสียภาษี 15%, เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20%, เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท เสียภาษี 25%, เงินได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษี 30% และเงินได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไป เสียภาษี 35% รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ขณะนี้กรมสรรพากรได้เสนอการศึกษาโครงสร้างภาษีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ให้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงค์ รมว.คลัง พิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยล่าสุด จะเพิ่มหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายจาก 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท และไม่มีการตัดทิ้งค่าลดหย่อนต่างๆ โดยกรมจะเสียรายได้เป็นหลักหมื่นล้านบาท แต่จะทำให้คนมีรายได้น้อยมีภาระภาษีลดลง โดยการปรับภาษีจะมีผลวันที่ 1 ม.ค.2560 ที่จะต้องยื่นแบบวันที่ 1 ม.ค.2561 อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเสนอโครงสร้างภาษีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในไตรมาสแรกปีนี้ เบื้องต้น สาระสำคัญการลดภาษีบุคคลธรรมดาจะทำให้ผู้เสียภาษีมีภาระลดลง มีความสุขในชีวิตมากขึ้น จะมีทั้งการลดอัตราภาษี การเพิ่มหักค่าใช้จ่ายเหมารวม และการพิจารณาค่าหักลดหย่อนต่างๆ โดยจะมีเพดานกำหนดว่าหักลดหย่อนรวมได้ไม่เกินเท่าไร รวมทั้งเมื่อปรับลดภาษีบุคคลธรรมดาใหม่แล้วจะทำให้ผู้มีรายได้มากกว่า 2 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 3 หมื่นบาท จะไม่มีภาระภาษีต้องเสียภาษี นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า การปฏิรูปภาษีในส่วนของการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างนั้น ได้เสนอให้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นชอบแล้ว โดยทาง รมว.คลัง ได้ให้มีการแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อย คาดว่ากรมสรรพากรจะใช้เวลาแก้ไขเล็กน้อย และจะส่งให้กระทรวงการคลังเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ การปรับโครงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะทำให้ผู้มีรายได้ปานกลางมีภาระภาษีลดลง จะมีการปรับแก้ไขให้สอดคล้องต่อความเป็นจริงมากขึ้น ในส่วนของการหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนในส่วนของภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างก็ได้มีการปรับให้ไม่เป็นภาระต่อผู้ที่มีบ้านอยู่อาศัย และทำการเกษตรเพื่อดำรงชีพจนมากเกินไป  
 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้