ต้นแบบวิถีปั่นจักรยาน
นำเข้าเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2558 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58563]  

ต้นแบบวิถีปั่นจักรยานในเดนมาร์ก อารยธรรมกรีนที่ทั่วโลกเลือกก๊อปปี้ .....

ต้นแบบวิถีปั่นจักรยานในเดนมาร์ก  อารยธรรมกรีนที่ทั่วโลกเลือกก๊อปปี้
       

 
ต้นแบบวิถีปั่นจักรยานในเดนมาร์ก  อารยธรรมกรีนที่ทั่วโลกเลือกก๊อปปี้
       

 
ต้นแบบวิถีปั่นจักรยานในเดนมาร์ก  อารยธรรมกรีนที่ทั่วโลกเลือกก๊อปปี้
        ก่อนงาน “ปั่นเพื่อแม่ : Bike for Mom” จะเริ่มในวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคมนี้ https://www.bikeformom2015.com/ ขอพาไปติดตามวิถีปั่นของหลายประเทศ หลายเมืองในโลกที่หันมาให้ความใส่ใจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนสู่การรักธรรมชาติซึ่งเป็นวิถีกรีนมากขึ้น
       
       โดยเฉพาะเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ยังคงความโดดเด่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้วย 5 องค์ประกอบสร้างอารยธรรมได้เพราะมีการปรับสภาพถนนและการขนส่งให้รองรับวิถีจักรยานที่ยั่งยืน
       
       ตามรายงานจาก http://denmark.dk/en/green-living/bicycle-culture/ ชี้ว่าเมืองโคเปนเฮเกนมีชื่อเสียงด้านอารยธรรมการปั่นจักรยานจนเป็นวิถีชีวิต และถูกประกาศอย่างเป็นทางการให้เป็น Bike City เมืองแรกในโลก

 
ต้นแบบวิถีปั่นจักรยานในเดนมาร์ก  อารยธรรมกรีนที่ทั่วโลกเลือกก๊อปปี้
        รายงานล่าสุดแสดงว่า เมื่อปีที่แล้วโคเปนเฮเกนได้รับการโหวตเป็น Best City for Cyclists และ The World Most Liveable City เพราะผู้คนรักจักรยาน โดยเมืองนี้มีระยะทางของไบค์เลนกว่า 390 กิโลเมตร จนทำให้เมืองอื่นในโลกเลือกก๊อปปี้แนวทางของโคเปนเฮเกนไปใช้
       องค์ประกอบสำคัญในการสร้างอารยธรรมการปั่นจักรยานของคนเมืองโคเปนเฮเกนมาจาก
       
       ประการแรก การมี Cycle Super Highway ทำให้ผู้คนสามารถปั่นจักรยานไปทำงาน ไปเรียนหนังสือได้โดยง่าย สะดวก ผ่านเครือข่ายเลนจักรยานที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
       
       ประการที่สอง การประกาศให้ประเทศเป็น Cycling Nation มาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 รถยนต์สร้างความเสี่ยงต่อการคงอยู่ของจักรยานในประเทศนี้ เพราะรถยนต์เข้าไปทดแทนอย่างรวดเร็ว ในเมืองหลักๆ แทบทุกแห่งในประเทศ โชคดีที่วิกฤติการณ์น้ำมันและแนวโน้มการใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป จากแนวคิด Cycling สู่ Kinderfarden โดยเด็กชาวเดนมาร์ก สามารถขี่จักรยานตั้งแต่เริ่มไปโรงเรียนได้
       
       ประการที่สาม เดนมาร์กมีการออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อนักปั่น ผ่านบริษัทหลายแห่งที่มีการสร้างสรรค์รูปลักษณ์จักรยานที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งดีไซเนอร์ ไบค์ คาร์โก้ ไบค์ ที่เป็นสินค้าระดับอัจฉริยะ ไฟหน้ารถที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ อุปกรณ์บริการนักปั่นในตัวเมืองอย่างทั่วถึง จนทำให้อารยธรรมปั่นจักรยานแบบเดนมาร์กในนิวยอร์ก ด้วยโมเดลของเดนมาร์ก ทำให้กรมขนส่งในนิวยอร์ก ซิตี้ เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างถนนแบบโคเปนเฮเกน ในนิวยอร์ก ให้มีถนนที่เป็นมิตรกับนักปั่นจักรยานหลายเส้นทาง
       ประการที่สี่ อารยธรรมปั่นจักรยานในเดนมาร์กแบบชิลล์ๆ ตั้งแต่ 7 โมงเช้าจะเกิดความเคลื่อนไหว ของจักรยานในโคเปนเฮเกน นักธุรกิจในชุดสูท หญิงสาวในเสื้อผ้าแบบแฟชั่นนิสต้า พ่อแม่ที่พาลูกหลานไปโรงเรียนด้วยคาร์โก้ ไบค์ สะท้อนว่าชาวโคเปนเฮเกนรักการปั่นจักรยานอย่างมาก ไม่ว่าอากาศจะเป็นอย่างไร แม้ในช่วงฤดูที่หนาวเหน็บ และไม่ว่าชาวเมืองจะไปที่ไหนก็ตามในเมืองของตน
       ประการที่ห้า การพัฒนาที่ยาวนานกว่า 1 ศตวรรษของโคเปนเฮเกน สามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็น อารยธรรมการปั่นจักรยานที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ที่เริ่มมีการใช้จักรยานในการสัญจรไปมาอย่างจริงจัง ยังทำให้การสัญจรโดยจักรยานรวดเร็ว ง่าย ปลอดภัย และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะไปไหนทั่วทั้งเมือง

 
ต้นแบบวิถีปั่นจักรยานในเดนมาร์ก  อารยธรรมกรีนที่ทั่วโลกเลือกก๊อปปี้
       

 
ต้นแบบวิถีปั่นจักรยานในเดนมาร์ก  อารยธรรมกรีนที่ทั่วโลกเลือกก๊อปปี้
        พัฒนาการปั่นจักรยานกลายเป็นวิถีชีวิตชาวเดนมาร์ก
       -เริ่มจากความนิยมจักรยานในโคเปนเฮเกน เริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ 1920 และ 1930 ที่ชาวเมืองทุกชนชั้นพากันใช้จักรยานคู่ใจ ปั่นเคียงข้างกันบนถนน
       -สภาพการณ์สัญจรกลับคืนสู่โคเปนเฮเกนอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับจากทศวรรษ 1950 ด้วยการเก็บจักรยานไว้หลังบ้าน และหันไปใช้รถยนต์แทน จนเกิดวิกฤติการณ์น้ำมัน และดึงเอาจักรยานกลับมาสู่ถนนหนทางแทนรถยนต์ที่มีต้นทุนการดำเนินชีวิตแพงจนยอมรับไม่ไหวอีกครั้ง
       -ยุคแห่งอนาคตของเมืองแห่งจักรยานของเดนมาร์ก เริ่มตั้งแต่การสร้างไบค์ เลนครั้งแรกในปี 1910 และเริ่มเกิดโครงข่ายไบค์ เลนจริงใน 25 ปี หลังจากนั้น จนกล่าวได้ว่าวันนี้ 50% ของการสัญจรไปมาในโคเปนเฮเกนมาจากยานเป็นชีวิตประจำวัน และต่อเนื่องตลอดทั้งปี ทั้งหน้าฝนและหน้าหนาว
       -สถานะปัจจุบันของโคเปนเฮเกน คือ การมีเส้นทางสานกรีนทั่วเมืองเต็มโครงข่าย และมีจุดจอดจักรยานทั่วทั้งเมือง และในอนาคตมีแผนจะขยายออกไปจากตัวเมืองสู่ชานเมือง หลังจากเกิดเส้นทางที่เรียกว่า Cycle Super Highway ตั้งแต่ปี 2011 โดยมีระยะทางเพียง 15 กิโลเมตรจากตัวเมือง
       จะเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้เป็นเพียงสิ่งเดียวที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีปั่นจักรยาน แต่เป็นการอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการปั่นจักรยานในอนาคต อีกทั้งผู้บริหารประเทศ ผู้บริหารเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้คนมั่นใจว่าจะเกิดอารยธรรมปั่นจักรยานที่ดีในระยะยาว นั่นเองที่จะต่อยอดปลูกฝังวิถีปั่นจักรยานที่ยั่งยืน
 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้