บังคับใช้มกราคม’59
นำเข้าเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2558 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58530]  

.....

บังคับใช้มกราคม’59 ภาษีมรดก เกิน100ล.เก็บ5-10%วันอาทิตย์ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558, 

ภาษีมรดก

เกิน100ล.เก็บ5-10%

โดนหมดทั้งบ้านที่ดินห้น

จูงใจเศรษฐีบริจาคมากขึ้น

เทียบทันกับอารยประเทศ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ว่า พระราชบัญญัติ ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40)พ.ศ.2558 ว่าด้วยภาษีการรับให้ ในกรณีที่โอนทรัพย์สมบัติก่อนผู้ให้เสียชีวิต ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2558 โดย พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือในเดือนมกราคม 2559“กฎหมายเรียกเก็บภาษีจากการรับมรดกและการยกให้โดยเสน่หาถือเป็นกฎหมายประวัติศาสตร์ที่นานาอารยประเทศ มีใช้กัน สำหรับประเทศไทยมีความพยายามผลักดันมายาวนานแต่ไม่สามารถเป็นผลได้จริง เพิ่งจะมาสำเร็จในรัฐบาลนี้ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีเจตนาที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมให้ได้มากที่สุดในช่วงที่ท่านยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกฎหมายเก็บภาษีมรดกถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากฉบับหนึ่ง เพราะจะเป็นการจูงใจให้กลุ่มผู้มีฐานะดีบริจาคเงินเพื่อองค์กรการกุศลและสาธารณะประโยชน์มากขึ้น ลดการสะสมทรัพย์เพื่อเป็นมรดก ขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสและสนับสนุนให้รุ่นลูกหลานได้แสดงความสามารถในการทำงานสร้างฐานะของตนเองมากกว่ารอรับมรดกเพียงด้านเดียว

ขณะเดียวกันเชื่อว่าการเรียกเก็บภาษีมรดกจะช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของฐานะทางเศรษฐกิจในสังคมได้ รวมทั้งจะทำให้รัฐจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเป็นงบประมาณเพื่อพัฒนาประเทศ”รองโฆษกฯ กล่าว

ทั้งนี้ภาษีการรับมรดกกำหนดให้ผู้รับมรดกต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาทในอัตรา 10% แต่ถ้าเป็นการรับมรดกจากบุพการี หรือผู้สืบ สันดาน จะเสียในอัตรา 5%

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีการรับให้ ควบคู่กัน เพื่ออุดช่องว่าง กรณี การให้โดยเสน่หา ที่ปัจจุบันไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น หากมีการโอนทรัพย์สมบัติให้ก่อนผู้ให้จะเสียชีวิตจะเข้าข่ายเป็นภาษีการรับให้ ซึ่งต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาทในอัตรา 5% แต่หากเป็นกรณีบุพการีให้ผู้สืบสันดานกำหนดให้จ่ายภาษีส่วนที่เกิน 20 ล้านในอัตรา 5%

“ทั้งนี้ผู้รับมรดกจะต้องยื่นสำแดงภาษีภายใน 150 วันหลังจากที่รับมรดก ส่วนทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมี 5 ประเภทด้วยกันได้แก่ 1.บ้าน และที่ดิน 2.เงินฝากธนาคาร 3.หุ้นและหุ้นกู้ 4.รถยนต์ และ 5.ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งข้อนี้เป็นการเปิดโอกาสจัดเก็บภาษีจากทรัพย์อื่นๆ เพราะยังไม่ทราบว่าในอนาคตจะมีทรัพย์สินหรือธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง”

พลตรีสรรเสริญกล่าวต่อว่าในการเสียภาษีนั้นจะประเมินทรัพย์ทุกประเภท และมูลค่าที่ได้รับรวมกัน แม้จะรับไม่พร้อมกัน ก็ต้องถูกนำมาประเมินรวมกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หุ้น เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน รถยนต์ ตราสารการเงินอื่นๆ โดยในการประเมินราคาที่ดินจะอ้างอิงราคาจากกรมที่ดิน หากเป็นหุ้นคิดในราคาตลาด ณ วันที่ ได้รับหุ้นมา เพื่อเป็นการลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติมากที่สุด

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงรูปแบบของธนาคารที่ดินในรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปไว้อย่างชัดเจนว่า “ปัจจุบันมีเกษตรกร 13.5 ล้านคน เสี่ยงสูญเสียที่ดินและคนจนเมืองอีก 9 ล้านคนไม่มีที่ดิน ดังนั้น เจตนารมณ์หลักของเราในการร่างรัฐธรรมนูญในหมวดปฏิรูป เรื่องธนาคารที่ดินคือความต้องการในการกระจายที่ดินให้ไปถึงมือของประชาชนเหล่านี้ โดยผ่านกลไกของการจัดตั้งธนาคารที่ดิน และการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อไม่ให้เกิดการปล่อยให้ที่ดินรกร้าง ทั้งนี้ มีเกษตรกรจำนวนมากที่ต้องนำที่ดินไปจำนองกับนายทุนและเมื่อไม่สามารถส่งดอกเบี้ยไหว ที่ดินก็หลุดไปเป็นของนายทุน ซึ่งหากธนาคารที่ดินเกิดขึ้น เกษตรกรสามารถโอนย้ายหนี้มาที่ธนาคารที่ดินให้เราช่วยเหลือต่อได้ นอกจากนี้ ในส่วนของที่ดินรกร้างที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เราก็จะมีการเก็บภาษี หรือซื้อต่อที่ดินเหล่านั้นเพื่อนำมาให้ประชาชนที่ยากจนเช่าหรือซื้อต่อในราคาที่ถูก ซึ่งธนาคารที่ดินจะเป็นกลไกที่ช่วยประคับประคองคนกลุ่มนี้ให้ฟื้นคืนมาได้ และถือเป็นการปฏิรูปในเรื่องที่ดินครั้งใหญ่ของประเทศไทย

 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้