ปราโมทย์ นาครทรรพ” สอนเชิงการทูต “ดับเบิลยู. แพทริก
นำเข้าเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2558 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58614]  

ตามดูบทสนทนา 2 ตอน “เมอร์ฟีย์” ถึงกับอึ้ง!.....

ตามดูบทสนทนา 2 ตอน “ปราโมทย์ นาครทรรพ” สอนเชิงการทูต “ดับเบิลยู. แพทริก เมอร์ฟีย์” ถึงกับอึ้ง!

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ตามดูบทสนทนา 2 ตอน “ปราโมทย์ นาครทรรพ” สอนเชิงการทูต “ดับเบิลยู. แพทริก เมอร์ฟีย์” ถึงกับอึ้ง!
วันที่ 23 มิ.ย. นายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้โพตส์ทวิเตอร์ “แสดงความเสียใจ” โดยระบุว่า ได้เดินทางเข้าขอโทษ และมอบบัตรเชิญใหม่เพื่อร่วมงานฉลองวันชาติสหรัฐ ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย

ตามดูบทสนทนา 2 ตอน “ปราโมทย์ นาครทรรพ” สอนเชิงการทูต “ดับเบิลยู. แพทริก เมอร์ฟีย์” ถึงกับอึ้ง!
ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ นักรัฐศาสตร์และนักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Pramote Nakornthab" เปิดเผยบทสนทนาบางช่วง ว่า ได้สนทนากับทูตอเมริกัน 23 มิถุนายน 2558

ตามดูบทสนทนา 2 ตอน “ปราโมทย์ นาครทรรพ” สอนเชิงการทูต “ดับเบิลยู. แพทริก เมอร์ฟีย์” ถึงกับอึ้ง!

ตามดูบทสนทนา 2 ตอน “ปราโมทย์ นาครทรรพ” นักวิชาการอิสระ สอนเชิงการทูต “ดับเบิลยู. แพทริก เมอร์ฟีย์” อุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา หลังเข้าขอโทษ และสำนึกผิด ปมคำนิยาม “Anti-Thaksin Activist” ย้ำไม่อยากให้ชาวไทยกับชาวอเมริกันโกรธหรือเกลียดกัน เปิดคำถามเด็ด! “สถานทูตมะกัน” เชิญ “พล.อ.ประยุทธ์” ร่วมงานหรือไม่ ทูตมะกันถึงอึ้ง! เจอคำพูด “ถ้าอเมริกันเป็นอย่างนี้ ถ้าผมมีอำนาจจะเรียกเอกอัครราชทูตไทยกลับจากวอชิงตัน”
       
       วันนี้ (25 มิ.ย.) มีรายงานว่า ภายหลังวันที่ 23 มิ.ย. นายดับเบิลยู. แพทริก เมอร์ฟีย์ อุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้โพสต์ทวิตเตอร์ “แสดงความเสียใจ” โดยระบุว่าได้เดินทางเข้าขอโทษ และมอบบัตรเชิญใหม่เพื่อร่วมงานฉลองวันชาติสหรัฐฯ ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย หลังจากที่ระบุชื่อตำแหน่งของนายปราโมทย์ว่า “Anti-Thaksin Activist” หรือนักเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณไปแล้วนั้น
       
       ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ นักรัฐศาสตร์และนักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Pramote Nakornthab” เปิดเผยบทสนทนาบางช่วงว่า ได้สนทนากับทูตอเมริกัน 23 มิถุนายน 2558
       
       โดยเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ศ.ดร.ปราโมทย์เขียนว่า “เพื่อนๆ คงอยากทราบว่าผมพูดอะไรกับทูตอเมริกันบ้าง ผมขอเล่าให้ฟังบางตอน เพื่อจะทำให้สังคมเกิดความเข้าใจ และผู้รับผิดชอบด้านการทูตทั้งสองฝ่าย คือ ไทย-อเมริกัน-ได้เจริญสติและปัญญาบ้างไม่มากก็น้อย
       
       1. ผมบอกท่านทูตว่าผมโปรอเมริกัน ผมไม่อยากให้ชาวไทยกับชาวอเมริกันโกรธหรือเกลียดกัน อเมริกาซึ่งเป็นบ้านที่ 2 ของผมจะกลายเป็นบ้านที่หนึ่งทันที หากครั้งแล้วครั้งเล่าไทยก็ก็เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ มิใช่เป็นเพราะว่าผมมีลูกเป็นคนอเมริกัน แต่เป็นเพราะว่าผมเกลียดเผด็จการ และผมรู้ดี และเสียดายที่อเมริกันไม่รู้ว่า เผด็จการเลือกตั้งในเมืองไทยนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าเผด็จการอื่นที่ไทยเคยมี
       
       2. ผมยกตัวอย่าง Armed Forces Movement ของโปรตุเกสที่ขับไล่เผด็จการเลือกตั้งพลเรือน ถ้ากองทัพโปรตุเกสไม่ทำอย่างนั้น ป่านนี้รับรองว่ายูโรไม่เกิด และวันนี้ยุโรปไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย ทำไมเรื่องนี้อเมริกันและยุโรปจึงไม่เข้าใจ
       
       3 คำว่า coup เป็นตัวอย่างความยากจนของภาษาอังกฤษ ที่ไม่สามารถแสดงภาพการยึดอำนาจของเมืองไทยได้ เพราะการยึดอำนาจในไทยไม่เหมือน coup ที่ไหนๆซึ่งรบราฆ่าฟันกันเหมือนไม่ใช่มนุุษย์ การยึดอำนาจของเมืองไทยกระสุนนัดเดียวก็ไม่ได้ยิง แม้สักหนึ่งชีวิตก็ไม่เสีย หัวคะแนนฆ่ากันตายในวันเลือกตั้งเสียอีกที่มีเป็นประจำ
       
       จบบทสนทนาชุดอารัมภบท ขอผัดเป็นพรุ่งนี้ครับ ผมทนง่วงไม่ไหว ความจริงผมหลับไปนานแล้ว คุณหมอกระแส ชนะวงศ์ โทร.มาปลุกเพื่อจะถามเรื่องบัตรเชิญสถานทูต ผมเลยนอนไม่หลับ ผมถามคุณหมอ อดีต รมว.กระทรวงต่างประเทศ และรมต.สำนักนายกฯ รัฐบาลทักษิณว่าได้รับเชิญวันชาติอเมริกันครั้งนี้ไหม คุณหมอตอบว่าไม่”
       
       ขณะที่วันที่ 25 มิ.ย.นี้ ศ.ดร.ปราโมทย์เขียนว่า “ตอนที่ 2 ผมต้องขอโทษที่มาช้าไปเป็นวัน เมื่อวานนี้เหนื่อยมาก เพราะมีรายการภารกิจเต็มเหยียดตั้งแต่เช้าจนเกือบสามทุ่ม เวลานอน จนต้องนอนช้าไปกว่าชั่วโมง ผมเชื่อว่าทูตจะต้องรายงานกลับไปวอชิงตันว่าท่านพูดว่าอย่างไรกับผมบ้าง และผมสันนิษฐานว่า ทางสถานทูตคงติดตามอ่านเฟซบุ๊กของผม ผมจึงยินดีมาก และคอยอ่านรายงานของท่านทูตเช่นเดียวกัน ความลับไม่มีในโลก ผมจะย่อการสนทนาตอนที่ 2 นี้เป็นหัวข้อสั้นๆ ผมจะบันทึกรายละเอียดเก็บไว้ทีหลังดังนี้
       
       การสนทนาตอนที่ ๒ เรื่องการจ่าหน้าบัตรเชิญ
       
       ท่านทูตบอกว่าเสียใจจริงๆ ในสิ่งที่เกิดขึ้นต้องขอโทษในความผิดพลาด ขอรับรองว่าไม่มีเจตนาเลยเสียใจจริงๆ ผมตอบว่าผมไม่โกรธหรือถือโทษเสมียนหรือเจ้าหน้าที่คนใดๆ ในสถานทูตหรอก เพราะผมเข้าใจดีว่าต้องทำงานอย่างไร และการทำงานผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา แต่ผมโทษความคิดหรือคำสั่งหรือนโยบายที่มาจากเบื้องบน ที่ทำให้เกิด data base ที่แบ่งแยกคนไทยออกเป็นพวกๆ เช่น ผมเป็นพวกนักเคลื่อนไหวแอนตี้ทักษิณ เป็นต้นนั้น ผมรับไม่ได้ และขอเตือนให้ทราบ ท่านทูตตอบว่ารับรองว่าไม่มี data base และไม่มีการแบ่งแยกคนไทย เขาถือว่าทุกฝ่ายเป็นมิตรทั้งสิ้น เป็น broad spectrum คือ การรวมคนไทยอย่างกว้างขวาง รัฐบาลอเมริกันถือว่าเป็นมิตรกับคนไทยทุกคน ขอให้เชื่อ
       
       ผมตอบว่าขอได้ แต่ให้ไม่ได้ การกระทำที่ผ่านๆ มาของสถานทูตอเมริกัน นึกว่าผมไม่รู้อย่างนั้นหรือ ผมรู้เพราะผมเรียนการเมืองอเมริกันมามากพอที่จะสอนคนอเมริกันได้ ผมรู้มากกว่าที่ผมพูด บางอย่างผมก็ไม่พูด เพราะผมไม่อยากให้คนไทยกับคนอเมริกันเกลียดกัน ผมถือว่าคนไทยโปรอเมริกันมากกว่าใครๆ และผมไม่ต้องการให้สัมพันธภาพอันดีระหว่างสองประเทศที่ยืนยาวมาถึง 80 ปีต้องเปลี่ยนแปรไป ผมไม่อยากเห็นทูตอเมริกันถูกปาดหน้าอย่างในเกาหลีใต้ หรือถูกขู่ฆ่าทุกวันอย่างในญี่ปุ่น บางอย่างผมจึงไม่พูดและไม่เผยแพร่ เพราะไม่ต้องการเห็นคนไทยมาเยี่ยวรดธงอเมริกันหรือมาพังรั้วสถานทูต ท่านทูตก็ยืนยันแล้วยืนยันอีกว่าเป็นอย่างที่พูด แต่เมื่อมันเกิดอย่างนี้ก็ไม่สบายใจมากจึงต้องตามมาขอโทษผมด้วยตนเอง
       
       ผมก็บอกท่านว่าไม่จำเป็นเลย และขอโทษท่านทูตด้วยที่ไม่สามารถต้อนรับได้ที่บ้าน หรือแม้แต่โรงแรมใกล้ๆ สถานทูตเมื่อเช้านี้ ทำให้ท่านทูตต้องวิ่งตามมาถึงสนามบิน ไม่ได้ตั้งใจทำให้ลำบากเลย ท่านทูตตอบว่าไม่เป็นไรเลย เป็นหน้าที่ของท่าน ด้วยความจริงใจจริง และยืนยันว่าความผิดพลาดเฉพาะเรื่องผมนั้นผิดพลาดจริง แต่สถานทูตเป็นมิตรกับคนไทยทุกกลุ่ม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง กลุ่มนั้นก็เชิญ กลุ่มนี้ก็เชิญ ข้าราชการก็เชิญ คนในรัฐบาลก็เชิญ และอยากเชิญผมด้วยใจจริง เชิญด้วยตนเอง หวังว่าผมจะไปร่วม
       
       ผมบอกว่าผมไปไม่ได้ดอก เพราะผมจะไปที่อื่นอยู่แล้ว (ความจริงผมไม่ได้โกหก) แต่ผมไม่สำคัญหรอก คนอื่นสำคัญกว่า และจะพิสูจน์ความจริงใจของนโยบายอเมริกัน เช่น การเชิญนายกรัฐมนตรี เป็นต้น เพราะฉะนั้นช่วยตอบผมด้วยว่าสถานทูตเชิญพลเอกประยุทธ์หรือไม่
       
       เขาตอบเลี่ยงๆ อ้ำๆ อึ้งๆ ว่าเชิญเยอะแยะหลายคน รวมทั้งผู้ใหญ่หลายคน ผมบอกว่าถามเป็นครั้งที่สองนะ คำถามก็ง่ายๆ ตรง ช่วยตอบตรงๆ ว่าเชิญพลเอกประยุทธ์หรือเปล่า ผมก็ได้คำตอบครั้งที่สองคล้ายๆ คำตอบครั้งที่หนึ่งอีกว่าอย่าให้เขาระบุชื่อว่าเชิญใครบ้างได้ไหม ขอรับรองว่าเชิญมากทั่วถึงจริงๆ ผมจึงคาดคั้นว่า ผมขอถามซ้ำนะ ขอถามซ้ำเป็นครั้งที่สามว่าเชิญพลเอกประยุทธ์หรือไม่ ท่านทูตต้องตอบตรงๆ ตอบโดยไม่ต้องใช้คำพูดก็ได้ ผมมีวิธีอ่านคำตอบ ผมเข้าใจว่าผมอ่านคำตอบที่ท่านทูตไม่ยอมเปล่งวาจาว่าไม่ได้เชิญ ผมจึงบอกท่านทูตว่า นั่นไงเห็นไหมล่ะ กระทรวงต่างประเทศคุณ และรัฐบาลคุณเป็นเสียยังงี้ นี่ดีเป็นพลเอกประยุทธ์นะ ถ้าเป็นผม ผมจะทำยังไงรู้ไหม
       
       ท่านทูตไม่ว่าอะไร ผมเลยบอกว่า ผมน่ะอยากบอกรัฐบาลของผมว่า ถ้าอเมริกันเป็นอย่างนี้ ผมจะเรียกเอกอัครราชทูตไทยกลับจากวอชิงตัน ความจริงไม่มีเหตุผลอะไรที่ทูตไทยจะแจ้งไปวอชิงตันเลย ในเมื่อทูตอเมริกาก็ยังไม่มี และไม่มา (การทูตไทยก็ตกต่ำมาก ชอบทำตัวให้เขาดูถูกยังงี้ ผมไม่ได้บอกเขานะครับ ผมพูดกับพวกเรา) และถ้าเป็นผม ผมจะบอกรัฐบาลอเมริกาว่า ถ้ายูยังมีท่าทีแบบนี้ เอกอัครราชทูตของอเมริกันก็อย่าเพิ่งส่งมา
       
       วันนี้ขอจบแค่นี้นะครับ วันนี้ทั้งวันอีก แขกรายแรกจะมาถึง 7.45 น. ซึ่งปกติเป็นเวลาที่ผมหลับสบายหลังจากกลับไปนอนอีกครั้งตอนหกโมงเช้า สวัสดีครับ ขอให้พวกเราจงรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นคนไทย เมืองไทยเป็นเมืองสำคัญของโลกก่อนที่อเมริกาจะเกิดตั้งหลายร้อยปี ถ้าเทียบชีวิตา 239 ปีของอเมริกา ก็คือเด็กหัวเท่ากำปั้นดีดีนี่เอง เราจะต้องช่วยกันสั่งสอนมิให้ยะโสกับผู้ใหญ่ แต่ทำด้วยความรักและเมตตาครับ มิใช่เกลียดชัง เหมือนกับที่ผมพูดกับท่านทูตด้วยความจริงใจและเปี่ยมไปด้วยความเป็นมิตร”

 

“ว่าที่ทูตมะกันคนใหม่” พูดถึงประเทศไทย ครั้งแรก! เชื่อกำลังได้คืน ปชต.หากมีเลือกตั้ง-หนุนโรดแมป

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
 
24 มิถุนายน 2558 19:40 น. (แก้ไขล่าสุด 25 มิถุนายน 2558 08:59 น.)
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
“ว่าที่ทูตมะกันคนใหม่” พูดถึงประเทศไทย ครั้งแรก! เชื่อกำลังได้คืน ปชต.หากมีเลือกตั้ง-หนุนโรดแมป
นายกลิน ทาวเซนด์ เดวีส์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

“ว่าที่ทูตมะกันคนใหม่” พูดถึงประเทศไทย ครั้งแรก! เชื่อกำลังได้คืน ปชต.หากมีเลือกตั้ง-หนุนโรดแมป

“ว่าที่ทูตมะกันคนใหม่” พูดถึงประเทศไทย ครั้งแรก! เชื่อกำลังได้คืน ปชต.หากมีเลือกตั้ง-หนุนโรดแมป
เวปไซต์สถานฑูตสหรัฐอเมริกาปรระจำประเทศไทย ได้เผยแพร่ คำแถลงของนาย Glyn Davies ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

“ว่าที่ทูตมะกันคนใหม่” พูดถึงประเทศไทย ครั้งแรก! เชื่อกำลังได้คืน ปชต.หากมีเลือกตั้ง-หนุนโรดแมป

ก่อนบินมาไทย “กลิน ทาวเซนด์ เดวีส์” ว่าที่ทูตมะกันคนใหม่ ประกาศกลางสภา Senate ก่อนรับตำแหน่งทูตไทยคนใหม่ เชื่อประเทศไทยกำลังจะได้คืนประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ หากไทยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง มุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ ย้ ำสหรัฐฯเป็นเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย เป็นพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย
       
       วันนี้ (24 มิ.ย.) มีรายงานว่า เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกาปรระจำประเทศไทย ได้เผยแพร่คำแถลงของนาย Glyn Davies ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558
       
       ทั้งนี้ นายกลิน ทาวเซนด์ เดวีส์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เข้าแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติ ก่อนมีการลงคะแนนของวุฒิสภาสหรัฐว่าจะรับรองการแต่งตั้งหรือไม่ โดยนายเดวีส์ แถลงว่า
       
       กราบเรียนท่านประธานและสมาชิกคณะกรรมาธิการ
       
       ขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมมาแถลงต่อหน้าทุกท่านในวันนี้ ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดี โอบามา ให้เข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผมขอขอบคุณท่านประธานาธิบดีที่ไว้วางใจในตัวผม และเสนอชื่อผมให้วุฒิสภาพิจารณา อีกทั้งขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แคร์รี ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี รวมถึงขอบคุณสมาชิกคณะกรรมาธิการทุกท่านที่เปิดโอกาสให้ผมได้ชี้แจงคุณสมบัติและเจตนารมณ์ของผม
       
       ผมเริ่มรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2523 และพยายามสั่งสมทักษะประสบการณ์มาตลอดช่วงชีวิตการทำงาน เพื่อเป็นผู้นำการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานในการเสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มพูนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และหากคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จะเป็นจุดสูงสุดของความพยายามตลอด 36 ปีที่ผ่านมานี้
       
       ครอบครัวคือพลังที่เข้มแข็งที่สุดของผม ผมขอกล่าวถึงครอบครัวของผมด้วยความรักและความรู้สึกขอบคุณต่อทั้งแจ็กกีภรรยาของผม แอชลีย์ และ เท็ดดี ลูกสาวของผม เชปิน ผู้เป็นลูกเขย รวมถึง โจซีและ ซิบบี หลานสาวของผม
       
       ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ธำรงมิตรภาพร่วมกันมายาวนาน ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในเอเชีย ประเทศเราทั้งสองทำงานร่วมกันในหลากหลายประเด็น ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาค ขยายการค้าการลงทุน พัฒนางานด้านสาธารณสุข ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น ต่อต้านสิ่งเสพติดผิดกฎหมายและการลักลอบค้าสัตว์ป่า ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทย หลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวาง และก่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทั้งสองประเทศอย่างที่ความสัมพันธ์อื่นน้อยนักจะเทียบเคียงได้
       
       ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทย ถลำลึกลงไปอย่างมาก นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้น แต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้ แต่ขอเน้นย้ำว่า สหรัฐอเมริกายึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตยและมั่นคงในพันธสัญญาของเราต่อมิตรภาพที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้กับประชาชนชาวไทย
       
       นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร สหรัฐอเมริกาเน้นย้ำตลอดมาทั้งในเวทีสาธารณะ และการเจรจาส่วนตัวถึงข้อกังวลของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยได้หยุดชะงักลง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพของพลเมืองที่ตามมา อันได้แก่ เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ
       
       สหรัฐฯ ยืนยันว่า ประชาธิปไตยจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนชาวไทยเลือกผู้แทน และผู้นำของตนเองได้อย่างอิสระและอย่างเท่าเทียมกัน สหรัฐอเมริกาได้ระงับความช่วยเหลือบางประการตามที่กฎหมายกำหนด จนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และเมื่อไทยมีรัฐบาลดังกล่าวแล้ว ประเทศเราทั้งสองจึงจะสามารถกลับไปสู่การมีความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีได้อย่างเต็มรูปแบบ
       
       การที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือน คืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบนั้นมิได้หมายความว่า สหรัฐฯ มุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ หรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศ หากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่ง ผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธานด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย
       
       อย่างไรก็ดี ด้วยตระหนักถึงผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของเรา สหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นในการรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคงของเรา กองทัพไทย และ กองทัพสหรัฐฯ ได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ในสงครามเวียดนาม และ สงครามเกาหลี อีกทั้งได้ร่วมกันจัดการฝึกซ้อม กิจกรรมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางทหาร ทั้งในระดับทวิภาคี และ ระดับพหุภาคีจำนวนมาก อันรวมถึงการฝึกคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้สร้างโอกาสอันล้ำค่าในการขยายการประสานงานและความร่วมมือ อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและปฏิบัติการตอบสนองต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ
       
       สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย และบริษัทสัญชาติอเมริกันก็เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถานกงสุลใหญ่ของเราในเชียงใหม่นั้น เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคสำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ และยังคงเป็นหนึ่งในสถานทูตที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเรา สหรัฐฯ กับไทยทำงานร่วมกันอย่างกว้างขวางในด้านสาธารณสุขอันเป็นหลักสำคัญของความร่วมมือระดับทวิภาคีของเรา ซึ่งได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะประสบความสำเร็จ
       
       ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของประเทศเราทั้งสองมีความแข็งแกร่งและขยายมากขึ้นเรื่อยๆ การเชื่อมโยงทางการศึกษาได้ช่วยให้นักเรียนนักศึกษาชาวไทยและชาวอเมริกันหลายพันคนได้ศึกษาต่อในประเทศของอีกฝ่าย หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาได้ส่งอาสาสมัครไปทั่วประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี ชาวอเมริกันชื่นชมและเคารพประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลายของไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกาได้ทรงดูแลพสกนิกรของพระองค์ด้วยพระเมตตาและทศพิธราชธรรมเป็นเวลาเกือบ 70 ปี และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของประชาชนไทยมาโดยตลอดอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย
       
       ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งและเป็นเสียงหลักขององค์กรพหุภาคีต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก (APEC) และข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (LMI) สหรัฐอเมริกาจะยังคงร่วมมือกับไทยและดำเนินงานผ่านองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้เพื่อผลักดันเป้าหมายที่มีร่วมกันในการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางการค้าและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการเสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาค
       
       สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยเพื่อยกระดับความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของไทย นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมที่ช่วยดำเนินการระบุอัตลักษณ์และปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว หากผมได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง ผมจะส่งเสริมใ

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้