การสอบสวนวินัย (๕) : ระยะเวลาการสอบสวน
นำเข้าเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2557 โดย Administrator
อ่าน [58820]  

การสอบสวนวินัย (๕) : ระยะเวลาการสอบสวน.....

การสอบสวนวินัย (๕) : ระยะเวลาการสอบสวน

Wed, 17/10/2012 - 09:12 — กรม ศรีบาล

   

       เวลาถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่ง ที่มีส่วนทำให้การสอบสวนสมบูรณ์ ครบถ้วน และรอบคอบหรือไม่

      หากมีเวลาน้อยการสอบสวนอาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งผลให้ความเป็นธรรม อาจจะไม่เป็นธรรม

       หากมีเวลานานมากไป ความเป็นธรรมก็จะมาเยือนอย่างล่าช้า อีดอาจ  จนความเป็นธรรมอาจกลายเป็น

        ...ความไม่เป็นธรรม..เกิดความเบื่อหน่าย...เกิดอาการเซ้งกับกระบวนการสอบสวน...อีกด้วย

     

        ในวันนี้ เรามาพูดถึงกรอบระยะเวลาของคณะกรรมการสอบสวนไว้บ้างก็จะดี อย่างน้อยก็จะได้คาดกาลถูก

หรือวันดีคืนอาจจะโชคดี  ได้รับเกียรติแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนวินัยกับเขาบ้าง...มันไม่แน่น่ะจะบอกให้! ! !

 

        ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ.๒๕๔๐) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา ข้อ ๑๒ ได้กำหนดกรอบระยเวลาโดยสรุป ได้ดังนี้

1.             ให้ประธานกรรมการดำเนินการประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาวางแนวทางการสอบสวนและแจ้ง และอธิบายข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ภายใน ๑๕ วัน นับตังแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้ง

2.             ให้คณะกรรมการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่มี ภายใน ๖๐ วัน นับตั้งแต่ดำเนินการตามข้อ ๑ แล้วเสร็จ

3.             ให้คณะกรรมการแจ้งข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ภายใน ๑๕ วัน นับตั้งแต่ดำเนินการตามข้อ ๒ แล้วเสร็จ

4.             ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานของ  ผู้ถูกกล่าวหา  ให้แล้วเสร็จภายใน  ๖๐  วัน  นับตั้งแต่ดำเนินการตามข้อ ๓ แล้วเสร็จ

5.             ประชุมคณะกรรมการพิจารณาลงมติ และทำรายงานการสอบสวนเสนอผู้สั่งแต่งตั้ง  ภายใน ๓๐ วัน  นับตั้งแต่ได้ดำเนินการตามข้อ ๔ แล้วเสร็จ

 

            ก็มีปัญหาว่า หากคณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการได้ภายในกำหนดจะทำอย่างไร ?

          

            ตามระเบียบดังกล่าว ยังเปิดโอกาสให้คณะกรรมการได้หายใจเพิ่มอีก กล่าวคือ

 

           หากคณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาตามข้อ ๑ - ๕ ได้ ให้ขอขยายระยะเวลาการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งขยายระยะเวลาดำเนินการได้ตามความจำเป้น  ครั้งละไม่เกิน ๖๐ วัน น่ะจ๊ะ

 

     แต่อย่างเพิ่งดีใจไป ยังมีกรอบระยะเวลาขีดเส้นตายไว้อีกว่า....อันนี้สำคัญ

 

      หากการสอบสวนเรื่องใดที่คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ภายใน  ๒๗๐ วัน

ให้ประธานกรรมการรายงานเหตุให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนรายงานให้ อ.ก.พ กระทรวงทราบ

เพื่อติดตามเร่งรัดการสอบสวนต่อไป

 

      จึงพอสรุปได้ว่า  หากคณะกรรมการสอบสวนให้เสร็จภายในกรอบระยะเวลาจริง ๆ ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน  ๑๘๐ วัน ยกเว้นแต่จะขอขยายระยะเวลา

 

      การขยายระยะเวลาดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดจำนวนครั้งไว้ แต่อย่างไรก็ตามไม่น่าจะเกิน ๒๗๐ วัน

      ดูระยะเวลาแล้วก็น่าเป็นห่วง คนมีเรื่อง .... คงต้องทุกข์ใจไปเป็นปี

    

       ขออย่าได้มีเรื่อง และถูกกล่าวหาอีกเลย...มันทุกข์ใจจริงๆๆ

 

      ส่วนกรรมการเอง ก็คงไม่น้อยหน้า....คงเครียดไปเป็นปี...เช่นกัน ! ! !

 


 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้