เผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน ของนางมนัสชนก อุดมดี ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนสมสะอาดพิทยาสรรพ์
นำเข้าเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556 โดย กนิษฐา เหลาสุภาพ
อ่าน [58544]  

ผลการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและ ธรรมาภิบาล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสมสะอาดพิทยาสรรพ์ โดยนางมนัสชนก อุดมดี ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนสมสะอาดพิทยาสรรพ์ .....

บทคัดย่อ
          ผลการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและ ธรรมาภิบาลของโรงเรียนสมสะอาดพิทยาสรรพ์   มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  โดยใช้กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยร้อยละ  80  ขึ้นไป 
โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของนักเรียนทั้งหมด  2)  เพื่อพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนสมสะอาดพิทยาสรรพ์  อำเภอกุฉินารายณ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  จำนวน  30  คน  จำแนกเป็นนักเรียนชาย 19 คน  นักเรียนหญิง 11  คน  ซึ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3  ได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชนคนดีของแผ่นดิน ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและ ธรรมาภิบาล  รวมระยะเวลา  2  วัน  มีรูปแบบการวิจัย  2  รูปแบบ  คือ  1)  รูปแบบการวิจัย  One – shot case study ผู้วิจัยใช้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายโดยวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังจากเสร็จสิ้นการเข้าร่วมกิจกรรมค่าย  2)  รูปแบบการวิจัย  One group pretest – posttest design  ผู้วิจัยใช้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เข้าค่าย  โดยวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ก่อนร่วมกิจกรรมค่าย  1  ครั้งและวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังจากเสร็จสิ้นการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอีก  1  ครั้ง  รวม  2  ครั้ง
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1)  หลักสูตรกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  2)  แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  3)  แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์สถิตที่ใช้ในการวิจัยคือ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และ  t -  test
          ผลการวิจัยพบว่า  1)  คะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ  80  (62  คะแนนจาก  78  คะแนน)  โดยมีคะแนนเฉลี่ย  69.66   คิดเป็นร้อยละ  89.30  และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ในระดับดี  ไม่น้อยกว่า  ร้อยละ  80  ของนักเรียนทั้งหมด โดยมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ในระดับดี   26  คน  คิดเป็นร้อยละ  86.66  มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  2)  คะแนนเฉลี่ยเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเข้าร่วมกิจกรรมค่าย เท่ากับ  16.44  ส่วนคะแนนเฉลี่ยเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเท่ากับ  24.78  ซึ่งสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมค่าย  นั่นคือนักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมค่าย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้