มะเร็งปอด ‘รักษาได้’ หากตรวจพบแต่เนิ่น ๆ
นำเข้าเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2555 โดย pop
อ่าน [58567]  

มะเร็งปอด ‘รักษาได้’ หากตรวจพบแต่เนิ่น ๆ.....

 

 

ศ. นพ. ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง ผู้อำนวยการแผนกโรคระบบการหายใจ – โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวถึงอันตรายจากโรค ‘มะเร็งปอด’ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นมะเร็งที่มีอัตราคร่าชีวิตผู้ป่วยเป็นอันดับหนึ่งของผู้ชายในประเทศไทย และมีแนวโน้มของอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้หญิง และอาจเป็นอันดับหนึ่งในไม่ช้า

 

“ความร้ายแรงของมะเร็งปอดอยู่ที่อัตราการเป็นโรคกับอัตราการเสียชีวิตมีตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมาก นั่นหมายถึงว่ามีผู้ถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอดเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ที่รอดจากการเสียชีวิต สาเหตุสำคัญก็คือมะเร็งปอดมักไม่มีสัญญาณเตือนใดๆในระยะแรก ดังนั้นกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวเพราะมีอาการบางอย่างเช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด น้ำหนักตัวลดฮวบ หรือหอบเหนื่อย และตัดสินใจไป โรงพยาบาลก็เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้ว”แต่ในทางกลับกัน หากพบมะเร็งปอดตั้งแต่ในระยะแรก โอกาสรักษาจนหายขาดได้จะมีสูงถึง 90 %เช่นกัน

“เมื่อก่อนนี้การตรวจหามะเร็งปอด เราจะใช้เครื่องเอ็กซเรย์ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ค่อยไวและไม่ละเอียดเห็นได้ไม่ชัด บางทีจุดเล็ก ๆ ในปอดก็ถูกมองข้ามไปได้ กว่าจะมองเห็นชัดจริง ๆ ก็เมื่อมันใหญ่ขึ้นถึงหนึ่งเซ็นติเมตรหรือมากกว่า ถึงจุดนั้นส่วนใหญ่มะเร็งมักเกินระยะแรกไปแล้ว

“เราต้องเข้าใจก่อนว่า มะเร็ง เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากเซลล์ตัวเดียวแล้วแบ่งออกเป็นสอง จากสองเป็นสี่ และสี่ไปแปด คือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ฉะนั้นเมื่อถึงจุดที่มองเห็นในฟิล์มเอ็กซเรย์ชัด(ประมาณ 1 เซ็นติเมตร) ก็หมายถึงมันได้มีชีวิตมาแล้ว 75 %ของชีวิตมันที่จะฆ่าผู้ป่วย โดยกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายดังนั้นเราจะมีเวลาเหลือ 25% ของชีวิตมันในการรักษาผู้ป่วย โอกาสจะรักษาหายก็มีน้อย ถ้าเราสามารถตรวจพบก้อนมะเร็งตอนขนาดยังเล็กอยู่ โอกาสที่จะมีเวลารักษาก็มากขึ้น และหายได้


เราตรวจพบก้อนเล็กๆ ได้ โดยใช้เครื่องซีทีสแกน“ปัจจุบันจึงมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยเครื่อง ซีทีสแกน ซึ่งเป็นการถ่ายภาพสามมิติที่มองเห็นได้มากกว่าการถ่ายเอ็กซเรย์ทั่วไป ทำให้สามารถตรวจหาความผิดปกติได้เร็วกว่า โดย ซีทีสแกน จะนำภาพที่ถ่ายด้วยรังสีเอ็กซ์หลาย ๆ ภาพมาประกอบกัน และสร้างเป็นภาพสามมิติในแนวตัดขวางของร่างกาย จึงทำให้มองเห็นโครงสร้างภายในปอดได้ละเอียด และช่วยในการบอกตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ”

 

การพบสิ่งผิดปกติในปอดทุกครั้งอาจไม่ได้หมายถึงมะเร็งเสมอไป“ก้อนเนื้อที่มีขนาดต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร ถือว่าความเสี่ยงค่อนข้างน้อย แต่ถ้าใหญ่กว่า 10 มิลลิเมตรขึ้นไป โอกาสที่ก้อนเนื้อนั้นจะเป็นมะเร็งก็เป็นไปได้มาก ทั้งนี้หลังการตรวจพบ แพทย์จะทำการติดตามการเติบโตของก้อนเนื้ออย่างใกล้ชิด ถ้าภายในสามถึงหกเดือนมีอัตราขยายตัวขึ้นเร็วผิดปกติ การรักษาก็ต้องเริ่มทันที “สำหรับมะเร็งที่ตรวจพบตั้งแต่ในระยะที่ยังเป็นเพียงก้อนเนื้อเล็ก ๆ นี้ เราจะทำการผ่าตัดใหญ่ เอาก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดออกด้วย”

ในส่วนของกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ต้องการรับการตรวจคัดกรอง ศ. นพ. ยงยุทธ์ ได้อธิบายว่า“ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรพิจารณารับการตรวจด้วยตนเอง ตามเกณฑ์แล้วก็คือคนที่สูบบุหรี่หรือมีประวัติสูบบุหรี่ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป รวมถึงคนที่มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องรับมลภาวะและสารพิษต่าง ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะสารจำพวก ใยหิน (Asbestos) ก๊าซกัมมันตรังสี (Radon) หรือควันพิษจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

“แต่ในบางครั้งเราก็พบผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ หรืออายุไม่มากนัก หมายความว่ามะเร็งอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน การตัดสินใจเข้ารับการตรวจจึงต้องดูกันเป็นราย ๆ ไป ที่สำคัญคือต้องสังเกตตัวเอง หากพบอาการผิดปกติเช่นไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุ ควรพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะไม่มีอาการไอที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใดที่จะเป็นนานกว่า 1 – 2 เดือน”

ตามสถิติและหลักฐานทางการแพทย์ สาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคมะเร็งปอด คือ ‘การสูบบุหรี่’ วิธีป้องกันตนเองให้ไกลจากมะเร็งปอด จึงเป็นเรื่องของการเลิกและแนะนำให้บุคคลใกล้ชิดเลิกสูบบุหรี่“การทำให้ตนเองไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดที่ง่ายที่สุดก็คือเลิกสูบบุหรี่ สองคือหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีสารก่อมะเร็ง แค่นี้ก็ช่วยได้มากแล้ว

“ส่วนการตรวจคัดกรองก็เป็นการป้องกันที่ดีวิธีหนึ่ง โดยควรตรวจทุกปีเมื่ออายุห้าสิบปีขึ้นไป เพราะบางครั้งการตรวจไม่เจอก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นมะเร็ง แต่ถ้าตรวจทุกปีแล้ววันหนึ่งเจอเข้า นั่นหมายถึงยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งสามารถกำจัดให้หมดไปได้

“อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อเท็จจริงคือ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาจนหายขาดแล้ว โอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำอีกจะมีมากกว่าคนที่ยังไม่เคยเป็นมะเร็ง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้บกพร่อง ดังนั้นจึงต้องติดตามผลการรักษาและตรวจสุขภาพอย่างละเอียดทุก ๆ หนึ่งหรือสองปี”

สุดท้าย ศ. นพ. ยงยุทธ์ กล่าวว่า “การได้รู้ว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดเป็นมะเร็ง อาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แต่เราอยากให้ทุกคนเข้าใจว่า โรคมะเร็งสามารถรักษาได้ถ้าตรวจพบแต่เนิ่น ๆ รวมถึงการได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและเป็นระบบ ที่ศูนย์มะเร็งปอดโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เราอยากให้คนไข้เดินเข้ามาพบกับแพทย์และทีมงานผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาเกี่ยวกับมะเร็งปอด ที่พร้อมตรวจวินิจฉัยและประชุมปรึกษากันเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ครอบคลุมทุกขั้นตอนด้วยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมะเร็งปอด ฉายแสง ศัลยแพทย์ผ่าตัด เคมีบำบัด หรือเอ็กซเรย์ เป็น One Stop Service ที่รวมทุกอย่างเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยและการรักษามะเร็งปอดตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ต้องรอหรือไปต่อที่อื่น อีก

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้