[ปี 2555 สพฐ.มีจุดเน้น 10 ประการ] [การบริหารจัดการปริมาณโรงเรียน]
นำเข้าเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2555 โดย ที่นี่มีคำตอบ โดย ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก
อ่าน [58559]  

[ปี 2555 สพฐ.มีจุดเน้น 10 ประการ] [การบริหารจัดการปริมาณโรงเรียน].....

ปี 2555 นี้ สพฐ.มีจุดเน้น 10 ประการด้วยกัน ดังนี้

                         1.  ผลสัมฤทธิ์ในวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 3 (Student achievement)

                                2.  เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ (EQ : Emotion Quotient)

                                3. นักเรียน ป.3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น  นักเรียนป.6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะ การคิดขั้นพื้นฐาน (Literacy & Numeracy)

                                4.  นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นไทย จิตสาธารณะ   อยู่อย่างพอเพียง (Sufficiency & Public Mind)

                                5.  เพิ่มศักภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ (Excel to excellence)

                                6.  สร้าง ทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการ ศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ (Alternative Access)

                                7.  นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพสอดคล้องอัตลักษณ์ (Southern-Border Provinces)

                                8.  นัก เรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม (ASEAN Community)

                                9.  สถาน ศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และได้รับการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก ตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษาในพื้นที่ชนบท โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล (Quality Schools)

                                10.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Effective Service Areas)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การบริหารจัดการปริมาณโรงเรียน

 

                หาก เราพิจารณาจำนวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จะพบว่า ปัจจุบันมีโรงเรียนอยู่ถึง 31,255 โรง เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่า สพฐ. มีโรงเรียนมากเกินความจำเป็น ความพยายามในการ ยุบ รวม เลิก เป็นไปอย่างเชื่องช้า อาจเป็นเพราะหลายเหตุปัจจัย มีทั้งแรงต้านภายใน และภายนอกโรงเรียน ซึ่งต่างคนต่างก็มีเหตุผล บางครั้งการกระทำอย่างเดียวกัน เช่น การยุบ รวมโรงเรียน มุมหนึ่งบอกว่าละเมิดสิทธิของเด็ก เพราะเป็นการดึงเด็กออกจากชุ่มชน (ทั้งๆที่ไปเช้าเย็นกลับ ไม่ได้ไปไกลเท่าไร แค่ข้ามหมู่บ้านเท่านั้น ) แต่ผู้ที่คิดจะยุบ รวม เลิก กลับมองว่า ถ้าไม่ทำสิจะเป็นการละเมิดสิทธิของเด็ก เพราะทนไม่ไหวกับการปล่อยให้เด็กอยู่อย่างไร้คุณภาพ ในขณะที่จำนวนโรงเรียนยังเป็นปัญหา เรื่องประสิทธิภาพของการบริหารจัดการที่ยังแก้กันไม่จบ ก็มีโรงเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามขยายชั้นเรียน มี ป.6 ก็ต้องการขยายไปถึง ม.3 มีถึง ม .3 ก็พยายามขยายไปถึงชั้น ม.6 ในอดีตที่ผ่านมาเราจะดูความพร้อมเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเราจะดูความจำเป็นเป็นหลัก ถ้าพร้อมแต่ไม่ค่อยจำเป็น ก็ไม่สนับสนุนให้ขยายชั้นเรียน ถ้าหากจำเป็น เพราะเด็กลำบากเหลือเกินในการเดินทาง ข้ามเขาลงห้วยไปเรียน เราก็สนับสนุนให้ขยายชั้นเรียน ความพร้อมนั้นสร้างได้ครับ เราคงมีประสบการณ์เรื่องโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งในอดีตเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้โอกาสแก่เด็กอย่างทั่วถึง ปัจจุบันนี้การคมนาคมสะดวกมาก และผู้ปกครองก็ไม่ทนอยู่กับโรงเรียนที่ขาดความพร้อมในการสอนลูกหลาน ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ โรงเรียนขยายโอกาสหลายๆโรงของดสอน ม.1- ม.3 แล้วครับ ปัญหาเรื่องจำนวนโรงเรียนที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบันจะไม่สามารถแก้ไขได้ ตราบใดที่ยังใช้วิธีการเดิมที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ วิธีที่ได้ผลก็คือ ต้องคิดต้นทุนต่อหัวในการจัดการศึกษา คิดทุกเรื่องแม้แต่เงินเดือน แล้วจัดงบประมาณเป็นเงินรวมให้เขตพื้นที่ไปบริหารจัดการ หากปล่อยให้โรงเรียนมีอยู่มากเกินความจำเป็น ก็จะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ หากเหลือโรงเรียนอยู่ในจำนวนที่พอเหมาะก็จะมีเงินเหลือเอาไปจับจ่ายใช้สอยใน เรื่องอื่นๆได้ตามที่ต้องการ อยากเห็นภาพนี้จริงๆ

 

ที่มา:

ที่นี่มีคำตอบ โดย ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก

จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 4/2555

 

 

 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้