'มศว'วิจัยชี้แจกแท็บแล็ตป.4 ดีกว่าป.1
นำเข้าเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2555 โดย julaju
อ่าน [58558]  

'มศว'วิจัยชี้แจกแท็บแล็ตป.4 ดีกว่าป.1 .....

'มศว'วิจัยชี้แจกแท็บแล็ตป.4 ดีกว่าป.1

ผลวิจัย "มศว" ชี้ชัด แจกแท็บแล็ตป.4 ดีกว่า ป.1 เผยปัญหาด้านสุขภาพ-สายตามีอาการ ขณะที่ครู ผู้ปกครอง เห็นพ้องไม่นำแท็บแล็ตกลับบ้าน จัดอบรมครู ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง

 

             เมื่อวันที่ 11 พ.ค.2555 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว)จัดแถลงข่าวผลการดำเนินงานโครงการนำร่องการประยุกต์และบูรณาการคอมพิวเตอร์แท็บแล็ตเพื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตามแนวนโยบายของรัฐบาลระยะที่ 1 โดยมีผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมศว. กล่าวว่าผลจากการศึกษาและติดตามผลการใช้แท็บแล็ตในโรงเรียนนำร่อง สรุปได้ดังนี้ ผลการใช้แท็บแล็ตในกลุ่มนักเรียน พบว่า ด้านพฤติกรรม ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการฝึกหัดและการทำกิจกรรมที่หลากหลายจนพบความถนัดของตนเอง แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยีการฝึกคิดหลายวิธีสร้างสรรค์ และนักเรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้

                
                  นอกจากนี้ การใช้แท็บแล็ตอย่างรู้เท่าทัน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการจัดการ สร้างสรรค์ ประเมิน บูรณาการมากกว่านักเรียนชั้นป.1 ส่วนด้านการเรียนรู้ในห้องเรียน นักเรียนมีความสุข กระตือรือร้น สนใจเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะนักเรียนชั้นป.4 เรียนรู้ได้เร็วกว่า ทั้งยังมีโอกาสได้พัฒนาทักษะและวินัยในเรื่องของการดูและรับผิดชอบอุปกรณ์
                
                  ขณะที่ด้านสุขภาพตา พบว่านักเรียนปวดตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล ในกลุ่มที่ใช้แท็บแล็ต แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์แท็บแล็ตเนื่องจากกลุ่มที่ใช้แท็บแล็ตและไม่ใช่มีสายตามองวัตถุไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านสุขภาพและพัฒนาการ ไม่พบการเปลี่ยนแปลง ทั้งอาการเจ็บป่วย การทำกิจกรรมยามว่าง การบริโภคอาหารขยะ พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านสมาธิไม่พบผลกระทบเชิงลบ
                
                  สำหรับผลการใช้แท็บแล็ตที่มีต่อครู ในด้านพฤติกรรม 2 ด้าน คือ พฤติกรรมการสอน ครูต้องพึ่งความช่วยเหลือจากผู้ช่วยด้านเทคนิคในระหว่างการสอนที่ใช้แท็บแล็ต มีภาระงาน การเตรียมการสอน การดูลและควบคุมชั้นเรียนเพิ่มขึ้น ครูมีความตั้งใจกระตือรือร้นเพิ่มขึ้น และสามารถใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม และการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง พบว่าการใช้สื่อการสอนเพื่อการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนพฤติกรรมการสอนที่เปลี่ยนแปลงของครู คือการจัดสิ่งแวดล้อมที่จูงใจและเสริมแรงให้เกิดการเรียนรู้
                
                  ส่วนทัศนคติของครู พบว่า แท็บแล็ตไม่ได้เป็นตัวแทนครู เป็นสื่อทันสมัย ช่วยเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น มีการเรียนรู้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียนในเรื่องแอพพลิเคชั่นต่างๆ ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ ฝึกทักษะแบบ Learning by Doing อย่างแท้จริง
                
                  อธิการบดีมศว.กล่าวต่อว่า การสอบถามมุมมองความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เห็นว่าการใช้แท็บแล็ตไม่สามารถสอนเพิ่มได้ในเรื่องของจริยธรรม และจะเกิดปัญหาขึ้นบนสื่อออนไลน์ซึ่งจะมาควบคู่กับการแจกแท็บแล็ต ควรมีการพัฒนาครูให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขณะที่ผู้บริหารและครู มีข้อเสนอแนะว่า ผู้ช่วยด้านเทคนิคสำคัญและจำเป็นมาก ทั้งในขั้นตอนเตรียมการสอนและขณะสอน ไม่ควรให้นักเรียนนำแท็บแล็ตกลับบ้านและควรมีการจัดอบรมครูอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุปกรณ์ไอซีทีที่จำเป็นสำหรับการสอน คอมพิวเตอร์และจอโปรเจ็ตเตอร์ ครูเสนอ One Tablet One Projector หรือ Smart Board โดยไม่จำเป็นต้องให้เด็กมีแท็บแล็ตทุกคน ส่วนผู้ปกครอง ชุมชน มองว่า ควรมีการอบรมผู้ปกครองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และดูแลบุตรหลานได้ ไม่ควรนำกลับบ้านจะเกิดปัญหาการดูแลและความปลอดภัย โรงเรียนควรมีผู้ช่วยด้านเทคนิคให้กับครูผู้สอนและต้องมีความพร้อมเรื่องเครื่องข่าย WiFiในระดับชุมชน
                
                  “จากผลการศึกษาโครงการดังกล่าว ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้ 1. ควรมีการจัดทำแผนแม่บทในการแจกแท็บแล็ต และต้องมีการจัดทำเบื้องต้นอย่างละเอียดที่จะชี้ชัดว่าแผนแม่บทดังกล่าวจะส่งผลต่อผู้บริหาร คุณครูประจำชั้น ครูประจำกลุ่มสาระรายวิชา มีผลต่อนักเรียนว่าเรียนวันละกี่ชั่วโมง มีผลต่อผู้ปกครอง พ่อแม่ เพราะการแจ้งแท็บแล็ตอาจไม่คุ้มค่าถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองไม่รู้เรื่อง 2 .ต้องมีการพัฒนาเนื้อหาให้ครบถ้วนในทุกประเด็นเนื้อหาสาระ ต้องมีคุณภาพที่ดี คือ สนุกและเข้าใจง่ายให้เกิดการเรียนรู้มากกว่าในหนังสือ 3. ผู้ที่รับผิดชอบต้องจัดหางบประมาณและวางแผน จัดการหาบุคลากรที่จะเข้ามาช่วย ทางเทคนิค เพื่อช่วยครูในทุกโรงเรียน เช่น โรงเรียนขนาดเล็กต้องมีช่างเทคนิคอย่างน้อย 1 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ต้องมีมากกว่า 1 คน เป็นต้น 4.ถ้างบประมาณมีจำนวนจำกะดและจำเป็นต้องเลือกแจกนักเรียนในบางชั้น ผลการศึกษา2 ชั้น คือ ชั้นป.1 และป.4 ชี้ชัดว่าควรแจงนักเรียนชั้นป.4 และควรนำงบประมาณที่เหลือไว้จ้างบุคลากรที่จะมาเป็นช่วงเทคนิคประจำโรงเรียน และไม่จำแนต้องแจกทุกคน แต่อาจจะจัดการเรียนแบบหมุนเวียน เปิดเป็นห้องเรียนแท็บแล็ต จัดตาราเรียนให้ทุกคนได้มีโอกาสมาใช้แบบหมุนเวียน”ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าว
               
                  อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาครั้งนี้ ผลกระทบในเชิงลบไม่ปรากฎชัดเจนทั้ง ป.1 และป.4 เนื่องจากระยะเวาในการใช้แท็บแล็ตยังไม่นานพอ เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นระยะที่ 1 เท่านั้น ซึ่งหลังจากนี้หากรัฐบาลให้ดำเนินการศึกษาต่อ มศว.ก็ยินดี ส่วนการแจกแท็บแล็ตของรัฐบาลที่ดำเนินการในช่วงชั้นป.1 แล้วนั้น และรัฐบาลจะนำผลการศึกษาวิจัยไปกำหนดเป็นนโยบายหรือไม่อย่างไร ตนไม่ทราบ แต่เชื่อว่าถ้าสาธารณะได้ตระหนักถึงข้อมูล ที่มาจากการศึกษาที่เป็นกลาง ผลการศึกษาชี้ชัดว่าแจกป.4 คุ้มกว่าป.1 แต่หากรัฐบาลจะแจกชั้นป.1 จะต้องตอบสังคมว่าเพราะอะไร และการแจกแท็บแล็ต ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง เห็นตรงกันว่าไม่ควรให้เด็กเอากลับบ้าน และต้องดูแลเรื่องการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้