สาเหตุในครอบครัว
นำเข้าเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2555 โดย สงสารคนติดยาหลงผิด
อ่าน [58707]  

สาเหตุในครอบครัว .....

สาเหตุในครอบครัว

พ่อ  แม่  ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างบรรยากาศของครอบครัวให้อบอุ่น  ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างสัมพันธภาพกับลูกหลาน  ในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจ  สังคม  ค่านิยมได้เปลี่ยนแปลงไป  ทั้งพ่อ  แม่  ผู้ปกครองต้องออกนอกบ้านเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัว  เป็นเหตุให้ขาดการเอาใจใส่ดูแลลูกหลาน  ประกอบกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนของพ่อแม่ก่อให้เกิดปัญหา  เด็ก ๆ  จะมีความรู้สึกสับสน  ไม่กล้าที่จะพูดคุยด้วย


ท่านเป็นอีกบุคคลหนึ่ง...ที่มีพฤติกรรมที่ลูกไม่อยากพูดคุยปรึกษาด้วย  ดังนี้หรือไม่...?
1.       ชอบใช้วิธีสอนลูกแบบเปรียบเทียบจุดเด่นของคนนอกบ้านกับจุดด้อยของลูก
2.       ออกทำงานแต่เช้าแล้วกลับดึก  ออกจากบ้านไปทำธุระบ่อย ๆ  ไม่มีเวลาพูดกับลูก
3.       ใช้อารมณ์เหนือเหตุผลกับคนในบ้าน
4.       ใช้การบังคับ  วางกฎเกณฑ์มีความคาดหวังกับลูกสูง  เช่น  ลูกต้องเก่ง  ต้องดี  เป็นต้น
5.       ตำหนิ  ใช้อารมณ์กับคนในบ้านอย่างไม่มีเหตุผล  ซ้ำเติมเมื่อลูกทำผิด
 
 

ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่า... ลูกติดยา
1.  อย่าตกใจเกินเหตุ  ตั้งสติให้ดี พูดคุยกับลูกต้นเหตุของปัญหา เช่น ทำไมลูกจึงใช้ยาเสพติดใช้ชนิดไหน  และใช้เพื่ออะไร
2.  อย่าดุ ด่า หรือลงโทษลูกอย่างรุนแรง
3.  ถ้าลูกกำลังเรียน ควรให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาลูกติดยาเสพติด
4.  ควรสร้างความเข้าใจกับทุกคนในครอบครัวถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
5.  ใช้เหตุผลชี้แจงให้ลูกรู้และเข้าใจว่ายาเสพติดจะบั่นทอนชีวิตและอนาคตของลูกอย่างไร และการติดยาเสพติดสามารถเลิกได้หากมีความตั้งใจจริง
6.  รีบปรึกษาแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ด้านนี้ทันทีเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษาหรือให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
7.  เมื่อลูกได้รับการรักษาแล้วพ่อแม่ควรให้ความอบอุ่นและเพิ่มความเอาใจใส่ดูแลให้มากยิ่งขึ้น  เพื่อป้องกันการติดซ้ำ
 
ผู้รับปรึกษาที่ดี  เรื่องยาเสพติดอยู่ที่ครอบครัว
วิธีที่จะทำให้ลูกที่มีปัญหาติดยาเสพติดและคิดจะปรึกษา  พร้อมกับร้องขอความช่วยเหลือ  แนะนำจากพ่อ  แม่  ผู้ปกครองในครอบครัว  ที่มีบรรยากาศในบ้านดังนี้
1.  พ่อ แม่ ผู้ปกครองสร้างบรรยากาศในครอบครัวแบบเป็นกันเอง  สนิทสนมพูดคุยกับลูกได้ทุกเรื่องสร้างปฏิสัมพันธ์ด้านการกระทำที่อบอุ่น  ลูกหลานอยากอยู่ใกล้
 
2.  ไม่ทำงานจนไม่มีเวลาให้ลูก  ควรมีกิจกรรมร่วมกับลูกหลานบ้าง  พูดคุยเรื่องการทำงานของพ่อแม่ให้ลูกรับรู้ตามความเป็นจริง
3.  ไม่แสดงอาการหงุดหงิด  ฉุนเฉียว  เมื่อกลับเข้ามาในบ้าน
4. เวลาพูดคุยกับลูกหลาน  ควรพูดคุยอย่างตั้งใจฟังและควรสังเกตลูกทั้งน้ำเสียง  สีหน้าและท่าทาง  ให้โอกาสลูกแสดงออกและเลือกเรื่องที่จะพูดเอง  ไม่ตัดสินปัญหาให้ลูก  ไม่แสดงอารมณ์หรือออกความคิดในเรื่องนั้น ๆ  ก่อนลูก

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้