การพัฒนาระบบงานธุรการ โรงเรียนเทศบาล 7 เทศบาลนครอุดรธานี
นำเข้าเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2554 โดย ทิพวัลย์ ชนะชัย
อ่าน [58578]  

........

 

การพัฒนาระบบงานธุรการ  โรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี

 

ทิพวัลย์  ชนะชัย*   อาจารย์เจริญศรี  พงษ์สิงห์**

 

บทคัดย่อ

                  งานธุรการเป็นงานที่มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการที่จะทำให้งานอื่น    ภายในโรงเรียนดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ผู้ปฏิบัติงานธุรการของโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ปฏิบัติงานได้ไม่เป็นปัจจุบัน  ตรวจสอบได้ยาก  ไม่เป็นไปตามระเบียบ    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบงานธุรการโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ให้มีประสิทธิภาพใน  5  ด้าน  ประกอบด้วย  การจัดทำหนังสือราชการ  การรับหนังสือราชการ  การส่งหนังสือราชการ  การเก็บรักษาหนังสือราชการ  และการทำลายหนังสือราชการ  ตามกรอบกระบวนการพัฒนาระบบ  ประกอบด้วย  การศึกษาระบบ  การวิเคราะห์ระบบ  การออกแบบระบบ  การนำระบบไปใช้  และการตรวจสอบทบทวนระบบ  โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ  2  วงรอบ  แต่ละวงรอบ  ประกอบด้วยการวางแผน  การปฏิบัติ  การสังเกต  และการสะท้อนผลการปฏิบัติ  กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า  จำนวน  5  คน  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม  จำนวน  10  คน  กลยุทธ์ในการพัฒนา  ประกอบด้วยการสนทนากลุ่ม  การฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  และการนิเทศแบบสอนแนะ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วยแบบบันทึกการประชุม  แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกต  แบบประเมินระบบ  และแบบบันทึกผลการวิเคราะห์การนิเทศแบบสอนแนะ  การตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า  และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนา

                   ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า  การพัฒนาระบบงานธุรการในวงรอบที่  1  โดยใช้กลยุทธ์การสนทนากลุ่ม  การฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  และการนิเทศแบบสอนแนะ  เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาที่เป็นจริง  จุดแข็ง  จุดอ่อน  จึงออกแบบระบบใหม่  เพื่อให้ได้ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานธุรการที่มีความถูกต้อง  สมบูรณ์  เป็นปัจจุบัน  และตรวจสอบได้  ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ผู้ปฏิบัติงานธุรการสามารถนำขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่มีผู้ปฏิบัติงานธุรการเป็นส่วนน้อยที่ยังไม่สามารถนำขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติไปใช้ได้จึงไม่สามารถตรวจสอบทบทวนระบบได้  จึงดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่  2  โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศแบบสอนแนะ  ส่งผลให้สามารถนำขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

                  โดยสรุป  การพัฒนาระบบงานธุรการโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  โดยใช้กลยุทธ์การสนทนากลุ่ม  การฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  และการนิเทศแบบสอนแนะ  ส่งผลให้การดำเนินการพัฒนาระบบงานธุรการมีความถูกต้อง  สมบูรณ์  เป็นปัจจุบัน  และตรวจสอบได้  บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

คำสำคัญ         ระบบงานธุรการ

บทนำ

                  การบริหารจัดการโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา  ต้องเน้นการบริหารจัดการเชิงคุณภาพไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของการเรียนการสอนหรือคุณภาพของระบบงานต่าง    ภายในโรงเรียน  ซึ่งควรได้รับการพัฒนาไปพร้อม    กันและไปในทิศทางเดียวกัน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  ตามกรอบการบริหารงานทั้ง  4  ด้าน  ต่างก็มีความสำคัญและสัมพันธ์กันเป็นระบบ  เพราะแต่ละงานต่างช่วยสนับสนุน  ส่งเสริมให้งาน  อื่น   ดำเนินไปอย่างคล่องตัว  การบริหารงานทั่วไปเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยประสานส่งเสริมและสนับสนุนให้การบริหารอื่นๆ  บรรลุผลตามมาตรฐานคุณภาพและเป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยมีบทบาทหลักในการประสานส่งเสริมสนับสนุนและการอำนวยความสะดวกต่าง    ในการให้บริการการศึกษา  (ธีระ  รุญเจริญ.    2546  :  89)

                   ระบบเป็นองค์ประกอบที่ทำงานอย่างประสานสัมพันธ์  เพื่อบรรลุเป้าหมายหนึ่ง  ซึ่งในการทำงานของระบบไม่เพียงแต่มีปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในตัวของมันเองแล้ว  ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกอีกด้วย  (โกวัฒน์  เทศบุตร.    2550  :  1)  ซึ่งองค์ประกอบของระบบประกอบด้วย  ข้อมูลนำเข้า  (Input)  กระบวนการ  (Process)  และผลผลิต  (Output)  ซึ่งทั้ง  3  องค์ประกอบ  จะมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันเป็นวัฏจักร  เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหาก็จะส่งผลให้กระบวนการอื่น    หยุดชะงักไปด้วย  (ประชุม  รอดประเสริฐ.    2543  :  67    68)  ระบบจะมีทั้งระบบเปิด  และระบบปิด  ซึ่งระบบโรงเรียน  ระบบมหาวิทยาลัย  ระบบโรงพยาบาลจะเป็นระบบเปิด  ส่วนในระบบโรงเรียน  จะมีระบบการบริหารจัดการโรงเรียนอยู่  4  งาน  ประกอบด้วย  งานด้านวิชาการ  งานด้านงบประมาณ  งานด้านบริหารบุคคล  และงานบริหารทั่วไป  ซึ่งงานบริหารทั่วไปจะเป็นงานสนับสนุนให้งานอื่นมีประสิทธิผล  โดยเฉพาะระบบงานธุรการในโรงเรียน  ระบบ  จึงเป็นกลุ่มขององค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้น  มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันและส่งผลซึ่งกันและกันที่จะทำให้ระบบมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ  การบริหารจัดการสถานศึกษาประกอบด้วยการบริหารงานหลายด้าน  โดยเฉพาะงานด้านธุรการก็เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่ง  โดยตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา  ..  2539  ประกอบด้วยกรอบงาน  7  ด้าน  ได้แก่  1)  การวางแผนงานธุรการ  2)  การบริหารงานธุรการ  3)  การบริหารงานสารบรรณ  4)  การบริหารงานการเงินและการบัญชี  5)  การบริหารงานพัสดุ  6)  การบริหารงานทะเบียนและสถิติข้าราชการและลูกจ้าง  และ  7)  การประเมินผลงานธุรการ  โดยผู้ปฏิบัติงานในแต่ละกลุ่มงานต้องมีการสื่อประสานสัมพันธ์และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน 

                   การดำเนินงานธุรการ  ถึงแม้จะไม่ใช่งานหลักของสถานศึกษา  แต่งานธุรการนับว่ามีความสำคัญมากงานหนึ่ง  เพราะเป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการที่ทำให้งานอื่นๆ  มีประสิทธิภาพต่อการดำเนินงานการจัดการศึกษาทั้งระบบ  (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.    2536  :  353)  ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ พนัส  หันนาคินทร์  (2526  :  282)  ที่ว่าผู้บริหารโรงเรียนส่วนมากมักจะใช้เวลาบริหารงานธุรการมากกว่างานด้านอื่น  เพราะหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะเป็นที่ประจักษ์ยิ่งกว่าฝ่ายปฏิบัติการสอน  และฝ่ายอื่น    นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับประดิษฐ์  ฮวบเจริญ  (2545  :  330)  ที่ได้กำหนดงานธุรการเป็นแขนงงานหนึ่งในสถานศึกษา  หรือหน่วยงานทั่วไปที่จะช่วยให้กิจกรรมในหน่วยงานนั้น    ดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว  เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานหรือสถาบันนั้น    งานธุรการเป็นงานบริหารที่จะช่วยให้บุคลากรหรือผู้มาติดต่อรับบริการได้รับความสะดวก  ช่วยให้การดำเนินงานไปด้วยดีและมีความสำคัญต่อหน่วยงาน  ถ้างานธุรการของหน่วยงานใดไม่สะดวก  ไม่คล่องตัว  จะไม่เอื้ออำนวยการดำเนินงานก็จะทำให้งานต่าง    ล่าช้า  หรือสะดุดอยู่  ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  การดำเนินงานธุรการผิดพลาดอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานนั้นได้  ดังนั้น  ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใด  สถาบันไหน  งานธุรการจึงได้รับการเอาใจใส่  เพราะงานธุรการเป็นงานที่มีระเบียบ  แบบแผน  และแนวปฏิบัติกำหนด  ได้อย่างชัดเจนเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานด้านธุรการตามระบบที่กำหนดไว้โดยยึดหลักความถูกต้อง  สมบูรณ์  เป็นปัจจุบัน  และตรวจสอบได้ง่าย  การปรับปรุงงานธุรการให้มีประสิทธิภาพ  (กระทรวงศึกษาธิการ.    2546  :  68)  เจ้าหน้าที่ธุรการจะเป็นบุคลากรที่มีอิทธิพลต่อคณะทำงานด้านบริหารของสถาบัน  (Peters.    2002  :  2688 –  A)  ดังนั้นบุคลิกภาพของหัวหน้าฝ่ายธุรการควรมีทักษะในการเป็นผู้นำ  มีความเชี่ยวชาญในด้านการสื่อสารทั้งทางอักษร  และวาจาและควรมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้บริหารได้  (Medeiros.    2000  :  891–A)  อย่างไรก็ตามการทำงานธุรการยังพบปัญหาที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งงานธุรการในโรงเรียนมีปัญหาอยู่หลายด้าน  เนื่องจากบุคลากรในการปฏิบัติงานธุรการไม่เพียงพอ  การบริหารงานธุรการไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดหนังสือออกเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว  ตลอดทั้งในด้านของบุคลากรในการบริหารธุรการขาดความรู้ในเรื่องของงานสารบรรณ  ทำให้การปฏิบัติงานธุรการผู้ที่ปฏิบัติงานด้านธุรการจะต้องมีความรู้  ความเข้าใจในระเบียบงานสารบรรณตลอดทั้งการนำเอางานสารบรรณและการประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการบริหารงานต่าง    ของโรงเรียนได้อีกด้วย  (ขนิษฐา  โสภัณนา.    2551  :  94    100  ;  สมลักษณ์  ศิลปะสม.    2550  :  189    199  ;  จรัส  วิชาผง.    2548  :  101-105)  นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนที่พบ  คือ  โรงเรียนขาดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงในการจัดเก็บข้อมูลงานธุรการที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว  ทำให้เกิดความล่าช้าในการสืบค้น  ควรมีการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลงานธุรการ  มีการสร้างโปรแกรมงานธุรการ

                   การปฏิบัติงานธุรการของโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ปัจจุบัน  พบว่า  สภาพปัญหาในการปฏิบัติงานธุรการของโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานธุรการ  เนื่องจากไม่ได้จบการศึกษาด้านงานธุรการมาโดยตรง  เป็นเพียงครูผู้สอนที่ผู้บริหารแต่งตั้งให้รับผิดชอบหน้าที่  และยังมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ธุรการบ่อยจึงก่อให้เกิดการทำงานไม่ต่อเนื่อง  จึงทำให้  ผู้รับผิดชอบการรับหนังสือราชการ  ไม่สามารถ  แยก  หรือลำดับความเร่งด่วนของหนังสือ  ทำให้การเสนอหนังสือเพื่อสั่งการล่าช้า  ทำให้การส่งหนังสือตอบรับไปยังส่วนราชการภายนอก  หรือแม้แต่การส่งหนังสือภายในไม่ทันเวลาที่กำหนด  การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบสืบค้นได้ยาก  และยังพบปัญหาเกี่ยวกับการทำลายหนังสือราชการ  ไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยงานสารบรรณ  พ.ศ.  2526  จึงก่อให้เกิดปัญหา  การปฏิบัติงานธุรการไม่มีประสิทธิภาพ  จากปัญหาดังกล่าวทำให้คณะครูมีความสนใจที่พัฒนาระบบงานธุรการให้มีประสิทธิภาพ

                   ผู้ศึกษาค้นคว้า  ในฐานะครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ธุรการ  ได้ตระหนักถึงปัญหาต่าง    ที่กล่าวมา  จึงทำให้ต้องการศึกษาและพัฒนาระบบงานธุรการโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  ทั้ง  5  ด้าน  คือ  การจัดทำหนังสือราชการ  การรับหนังสือราชการ  การส่งหนังสือราชการ  การเก็บรักษาหนังสือราชการ  และการทำลายหนังสือราชการ  ที่มีความถูกต้อง  สมบูรณ์  เป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

                   เพื่อพัฒนาระบบงานธุรการโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ให้มีประสิทธิภาพ

วิธีการศึกษาค้นคว้า

                  การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบงานธุรการโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ให้มีประสิทธิภาพใน  5  ด้าน  ประกอบด้วย  การจัดทำหนังสือราชการ  การรับหนังสือราชการ  การส่งหนังสือราชการ  การเก็บรักษาหนังสือราชการ  และการทำลายหนังสือราชการ  ตามกรอบกระบวนการพัฒนาระบบ  ประกอบด้วย  การศึกษาระบบ  การวิเคราะห์ระบบ  การออกแบบระบบ  การนำระบบไปใช้  และการตรวจสอบทบทวนระบบ  โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ  (Action  Research)  2  วงรอบ  แต่ละวงรอบ  ประกอบด้วยการวางแผน  การปฏิบัติ  การสังเกต  และการสะท้อนผลการปฏิบัติ  กลยุทธ์ในการพัฒนา  ประกอบด้วยการสนทนากลุ่ม  การฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  และการนิเทศแบบสอนแนะ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วยแบบบันทึกการประชุม  แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกต  แบบประเมินระบบ  และแบบบันทึกผลการวิเคราะห์การนิเทศแบบสอนแนะ  การตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า  (Triangulation  Technique)  และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนา

ผลการศึกษาค้นคว้า

                   การพัฒนาระบบงานธุรการโรงเรียนเทศบาล  7  เทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ผู้ศึกษาได้สรุปผลการศึกษาค้นคว้าดังนี้

                         ผลการดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่  1  พบว่า

                               1.  การจัดทำหนังสือราชการ  โดยใช้กลยุทธ์การสนทนากลุ่ม  การฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  และการนิเทศแบบสอนแนะ  เพื่อทราบสภาพที่เป็นจริง  จุดแข็ง  จุดอ่อน  และเพื่อให้ได้ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานธุรการที่มีความถูกต้อง  สมบูรณ์  และเป็นปัจจุบัน  ไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานธุรการ  ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ  พบว่า  ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (   =  2.82)  กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนสามารถนำขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานไปใช้ได้อย่างถูกต้อง  สมบูรณ์  และเป็นปัจจุบัน  ไม่พบจุดอ่อนที่ต้องปรับแก้ไขในขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานใด

                               2.  การรับหนังสือราชการ  โดยใช้กลยุทธ์การสนทนากลุ่ม  การฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  และการนิเทศแบบสอนแนะ  เพื่อทราบสภาพที่เป็นจริง  จุดแข็ง  จุดอ่อน  และเพื่อให้ได้ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานธุรการที่มีความถูกต้อง  สมบูรณ์  และเป็นปัจจุบัน  ไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานธุรการ  ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ  พบว่า  ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (   =  2.93)  กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนสามารถนำขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานไปใช้ได้อย่างถูกต้อง  สมบูรณ์  และเป็นปัจจุบัน  ไม่พบจุดอ่อนที่ต้องปรับแก้ไขในขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานใด

                               3.  การส่งหนังสือราชการ  โดยใช้กลยุทธ์การสนทนากลุ่ม  การฝึกอบรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์  และการนิเทศแบบสอนแนะ  เพื่อทราบสภาพที่เป็นจริง  จุดแข็ง  จุดอ่อน  และเพื่อให้ได้ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานธุรการที่มีความถูกต้อง  สมบูรณ์  และเป็นปัจจุบัน

 download เอกสารในรูปแบบ pdf

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้